DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมบุญ จารุเกษมทวี
dc.contributor.author อธิวัฒน์ ยิ่งสูง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-04-05T04:58:21Z
dc.date.available 2020-04-05T04:58:21Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64649
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างการละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง สติ และปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่สนใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวน 224 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 19.42 ปี (SD = 1.24) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. มาตรวัดภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความเครียด 2. มาตรวัดประสบการณ์การละอายต่อตนเอง 3. มาตรวัดการเมตตากรุณาต่อตนเอง 4. มาตรวัดสติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์การถอดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. การละอายต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = .664, p < .01) 2. การเมตตากรุณาต่อตนเองมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.394, p < .01) 3. สติมีสหสัมพันธ์ทางลบกับปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับต่ำกว่า .01 (r = -.493, p < .01) 4. การละอายต่อตนเอง การเมตตากรุณาต่อตนเอง และสติสามารถร่วมกันทำนายปัญหาด้านจิตใจของนิสิตนักศึกษาได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอธิบายความแปรแปรวนของปัญหาด้านจิตใจได้ร้อยละ 52.5 (R2 = .525, p < .001) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายปัญหาจิตใจได้มากที่สุด คือ การละอายต่อตนเอง (β = .552, p < .001) และรองลงมา คือ การเมตตากรุณาต่อตนเอง (β = .270, p < .001)
dc.description.abstractalternative The Research aimed to study aimed to examine the relationships among self–shame, self–compassion, mindfulness and psychological distress in undergraduate students. Participant were 224 undergraduate students in Chulalongkorn University. Their mean age was 19.42 (SD = 1.24) years old. Measures were 1. Depression Anxiety Stress Scale 2. Experience of Shame Scale 3. Self–Compassion Scale 4. Freiburg Mindfulness Inventory. Pearson’s product-moment correlation and multiple linear regression were used to analyses the data. Findings reveal: 1. Self–shame are positively and significantly correlated with psychological distress in undergraduate students (r = .664, p < .01). 2. Self–compassion are negatively and significantly correlated with psychological distress in undergraduate students (r = -.394, p < .01). 3. Mindfulness are negatively and significantly correlated with psychological distress in undergraduate students (r = -.493, p < .01). 4. Self–shame, self–compassion, and mindfulness is able to predict psychological distress in undergraduate students and account for 52.5 percent of the total of variance of psychological distress (R2 = .525, p < .001). The most significant predictors of psychological distress is self–shame (β = .552, p < .001) followed by self–compassion (β = .270, p < .001).
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.774
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ความละอาย
dc.subject เมตตาและกรุณา
dc.subject Shame
dc.subject Compassion -- Religious aspects -- Buddhism
dc.subject.classification Psychology
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างความละอายต่อตนเอง ความเมตตากรุณาต่อตนเอง สติและปัญหาด้านจิตใจ ของนิสิตระดับปริญญาตรี
dc.title.alternative Relationships among self-shame, self-compassion, mindfulness and psychological distress in undergraduate students
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Somboon.J@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.774


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record