DSpace Repository

The effects of quality assurance rating by independent assessors on external auditors’ judgment on evaluation of the internal auditor’s work

Show simple item record

dc.contributor.advisor Sompong Pornupatham
dc.contributor.author Patcharee Treepornchaisak
dc.contributor.other Chulalongkorn University. Faculty of Commerce and Accountancy
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:10:29Z
dc.date.available 2020-04-05T07:10:29Z
dc.date.issued 2018
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64778
dc.description Thesis (Ph.D.)--Chulalongkorn University, 2018
dc.description.abstract The International standard on Auditing (ISA) 610, using the work of internal audit allows the external auditors to use internal audit’s work and use internal auditors as assistants. But the external auditors have to evaluate internal audit function by themselves. The self-evaluation causes uncertainty in using IAF’s work and using internal auditors as assistants. The prior studies identify that the three determinants of IAF quality are objectivity, competence and work performance. This study argues that the quality assurance report (QAR) help increase external auditors’ reliance decision. Moreover a paper posits that the internal control environment is also related to the external audits’ judgment. The paper manipulates the QAR rating into generally conform, partially conform and no report and classifies the internal audit (IA) report rating into satisfactory versus partial satisfactory. The IA report is represented an internal control of company while the QAR is presented quality of IAF. For the main predictions, the study forecasted that the effect of the internal audit report type on the likelihood to use IAF’s work for control testing/substantive/and use IA as assistant are conditional upon the QAR rating The experiment results mostly support the predictions where the dissertation found that the external auditors were willing to use IAF’s work in good internal control environments than poor internal control environments. The finding indicates that internal control environments is an addition determinant of external auditors’ reliance decision. Additionally the external auditors who receive generally conform QAR have greater likelihood to use IAF’s work than those who receive partially conform and no QAR. This result confirms that the QAR help increase external auditors’ reliance decision. However, the finding highlights the potential reliance error in no QAR condition as they have bias against the IAF’s work. The external auditors treat a quality of IAF in no QAR condition as poor as partially conform QAR condition. The incorrect reliance of auditors can cause over and under audit work, leading to ineffectiveness or inefficiency of audit engagement. In the second experiment, the research investigates on salience bias. The study constantly holds satisfactory internal audit report while the experiment manipulates QAR at four levels (Generally conform, partially conform and unrelated to work performance, partially conform and related to work performance and no report). The paper predicts that the external auditors likelihood to use IAF’s work decreases from generally conform, partially conform and unrelated to work performance, no report and partially conform and related to work performance respectively. The result is mostly consistent with prediction. The result confirms salience bias as they decrease willing to use IAF’s work in partially conform and unrelated to work performance condition. The external auditors ignore details of information that is not related to work performance. Again, the incorrect reliance of auditors leads to ineffectiveness of audit engagement and clients lose opportunity to utilize IAF.
dc.description.abstractalternative มาตรฐานการสอบบัญชีฉบับที่ 610 เรื่องการใช้ผลงานผู้ตรวจสอบภายใน อนุญาตให้ผู้สอบบัญชีสามารถใช้ผลงานหน่วยงานตรวจสอบภายในและขอความช่วยเหลือโดยตรงจากผู้ตรวจสอบภายในได้ แต่ผู้สอบบัญชีต้องประเมินหน่วยงานตรวจสอบภายในด้วยตนเอง การประเมินโดยตนเองก่อให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในการใช้ผลงานหน่วยงานตรวจสอบภายในและการใช้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ช่วย งานวิจัยในอดีตระบุปัจจัยของคุณภาพหน่วยงานตรวจสอบภายใน ประกอบด้วยสามปัจจัยหลัก ได้แก่ ความเที่ยงธรรม ความสามารถและผลการปฏิบัติงาน การวิจัยนี้ให้ข้อเสนอว่ารายงานการให้ความเชื่อมั่นโดยผู้ประเมินอิสระช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการตัดสินใจของผู้สอบบัญชี นอกจากนี้งานวิจัยนี้เสนอว่าสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของผู้สอบบัญชีด้วย งานวิจัยแบ่งรายงานการให้ความเชื่อมั่นเป็นสามระดับได้แก่ สอดคล้องโดยทั่วไป สอดคล้องบางส่วนและไม่ได้รับรายงาน และแบ่งรายงานการตรวจสอบภายในเป็นสองประเภทได้แก่ พึงพอใจ และพึงพอใจบางส่วน ซึ่งรายงานการตรวจสอบภายในเป็นตัวแทนของสภาพแวดล้อมการควบคุมภายในของบริษัท ในขณะที่รายงานการให้ความเชื่อมั่นเป็นตัวแทนของคุณภาพหน่วยงานตรวจสอบภายใน งานวิจัยนี้คาดการณ์ว่าผลกระทบของรายงานตรวจสอบภายในมีผลต่อการใช้ผลงานผู้ตรวจสอบภายในสำหรับการทดสอบการควบคุม การตรวจสอบเนื้อหาสาระ และการใช้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ช่วย ขึ้นอยู่กับอันดับการให้ความเชื่อมั่นของผู้ประเมินอิสระ ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานโดยส่วนมาก ซึ่งพบว่าผู้สอบบัญชีมีโอกาสใช้ผลงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในสำหรับสภาพแวดล้อมที่ดีมากกว่ากรณีที่สภาพแวดล้อมการควบคุมที่ไม่ดี  งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมการควบคุมเป็นปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจใช้ผลงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในสำหรับผู้สอบบัญชี นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่าผู้สอบบัญชีที่ได้รับรายงานความเชื่อมั่นระดับสอดคล้องกันโดยทั่วไปมีโอกาสใช้ผลงานหน่วยงานตรวจสอบภายในมากกว่าผู้สอบบัญชีที่ได้รับรายงานความเชื่อมั่นระดับสอดคล้องบางส่วนและไม่ได้รับรายงาน ผลการวิจัยยืนยันว่ารายงานความเชื่อมั่นช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้ผลงานหน่วยงานตรวจสอบภายในและการใช้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ช่วย อย่างไรก็ตามผลการวิจัยพบว่าผู้สอบบัญชีมีอคติในการตัดสินใจ หากผู้สอบบัญชีไม่ได้รับรายงานความเชื่อมั่น ผู้สอบบัญชีจะประเมินคุณภาพหน่วยงานอยู่ในระดับน้อยเท่ากับหน่วยงานตรวจสอบภายในที่ได้รับระดับความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องบางส่วน การตัดสินใจเชื่อถือที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลให้เกิดการตรวจสอบที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปและทำให้การตรวจสอบไม่มีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิภาพ การทดลองที่สองเป็นการศึกษาเรื่องอคติจากสิ่งที่เด่นจากการรับรู้ การทดลองนี้ได้กำหนดให้รายงานตรวจสอบภายในแบบพึงพอใจทุกกรณีแต่แบ่งรายงานการให้ความเชื่อมั่นเป็นสี่ระดับได้แก่ สอดคล้องโดยทั่วไป สอดคล้องบางส่วนโดยไม่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน สอดคล้องบางส่วนโดยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน และไม่ได้รับรายงาน งานวิจัยคาดการณ์ว่าโอกาสที่จะใช้ผลงานของหน่วยงานตรวจสอบภายในและการใช้ผู้ตรวจสอบภายในเป็นผู้ช่วยนั้นจะลดลงตามลำดับจากสอดคล้องโดยทั่วไป สอดคล้องบางส่วนโดยไม่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน ไม่ได้รับรายงานและสอดคล้องบางส่วนโดยเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน ผลการวิจัยสอดคล้องกับสมมติฐานโดยส่วนมาก ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีนั้นมีอคติในการตัดสินใจ โดยผู้สอบบัญชีลดระดับความเชื่อมั่นลงเมื่อได้รับรายงานความเชื่อมั่นระดับสอดคล้องบางส่วนโดยไม่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้สอบบัญชีนั้นเพิกเฉยต่อรายละเอียดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน  เช่นเดียวกันกับงานวิจัยแรก การตัดสินใจเชื่อถือที่ไม่ถูกต้องจะส่งผลทำให้เกิดการตรวจสอบที่ไม่มีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิภาพและลูกค้างานสอบบัญชีสูญเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากหน่วยงานตรวจสอบภายใน
dc.language.iso en
dc.publisher Chulalongkorn University
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1
dc.rights Chulalongkorn University
dc.subject.classification Business
dc.title The effects of quality assurance rating by independent assessors on external auditors’ judgment on evaluation of the internal auditor’s work
dc.title.alternative ผลกระทบของการจัดอันดับการให้ความเชื่อมั่นโดยผู้ประเมินอิสระที่มีต่อดุลยพินิจของผู้สอบบัญชีภายนอกต่อการประเมินผลงานของผู้ตรวจสอบภายใน
dc.type Thesis
dc.degree.name Doctor of Philosophy
dc.degree.level Doctoral Degree
dc.degree.discipline Accountancy
dc.degree.grantor Chulalongkorn University
dc.email.advisor Sompong.Po@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record