DSpace Repository

การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์
dc.contributor.author ปวริศร์ คำมุลตรี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:32:11Z
dc.date.available 2020-04-05T07:32:11Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64821
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท..ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการพัฒนาในด้านการบูรณาการ การพัฒนาและบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมกายภาพ อาคารสิ่งก่อสร้าง และพื้นที่ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการนั้นได้กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาทำการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร พร้อมทั้งจัดทำรายงานส่ง อย่างไรก็ตามปริมาณข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์นั้นมีจำนวนมากและข้อมูลมีความซับซ้อน ซึ่งขาดการเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดระหว่างหน่วยงาน รวมถึงใช้ระยะเวลาในการประเมินมาก ในการวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องมือที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารร่วมกับการใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยมีขั้นตอนในการใช้งานแบ่งเป็น 4 ส่วนหลักคือ ส่วนที่ 1 การเตรียมระบบข้อมูลสำหรับเป็นฐานข้อมูลและการแสดงผล และการเตรียมแบบจำลองสารสนเทศอาคาร ส่วนที่ 2 การตั้งค่าฐานข้อมูลและกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูล ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร และการแสดงผลในแบบแปลนและในรูปแบบรายงาน ทั้งในระดับอาคารและระดับคณะ/สำนัก ส่วนที่ 4 เสนอแนะแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร ในรูปแบบรายงาน จากการใช้งานเครื่องมือที่ได้พัฒนาสำหรับแต่ละอาคาร ใช้เวลาแต่ละขั้นตอนประมาณ 5 นาที ซึ่งทำให้ได้ผลลัพธ์ 4 อย่าง ได้แก่ 1) การแสดงผลการประเมินตามค่าระดับสีในแบบแปลนบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับอาคาร 3) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคารในระดับคณะ/สำนัก 4) รายงานแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์อาคาร โดยในส่วนโปรแกรมที่ได้พัฒนานี้จะทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารและฐานข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานข้อมูลในแบบจำลองสารสนเทศอาคาร รวมถึงช่วยลดระยะเวลาในการประเมินผล
dc.description.abstractalternative The university to establish a development guideline of integrated physical environment for support learning environment. The announcement of the Ministry of Education has stipulated that higher education institutions evaluate the building utilization efficiency and submit them with a report. However, the amount of data used is large and complicated, and there is no linking of all data between departments. It would also require a large amount of time to assessment. In this research, Building Information Modeling (BIM) tool has been developed to help assess the efficiency of building utilization. The using process has 4 phases, as follows: First, the preparation of data systems and BIM; Second, the data link between the BIM and the database; Third, the analysis of building utilization efficiency evaluation. Fourth, suggestions for increasing the efficiency of building utilization. In each building assessment as using the developed tool each phase take about 5 minutes. The results are the display based on the color level values in the form of the BIM plan, the assessment report of Classroom Utilization for the building level and faculty/department level and the suggestions report for increasing the efficiency of building utilization. For this program that has been developed, it will act as a link between the BIM and the database. This will help reduce redundant work processes and help increase the efficiency of data usage in BIM, as well as reducing the time for evaluation.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1377
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.subject.classification Computer Science
dc.title การพัฒนาโปรแกรมเสริมบนแบบจำลองสารสนเทศอาคาร เพื่อช่วยในการประเมินประสิทธิภาพการใช้พื้นที่อาคารเรียนในมหาวิทยาลัย
dc.title.alternative Development of bim tool for classroom space utilization assessment in university
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถาปัตยกรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Vorapat.I@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1377


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record