DSpace Repository

อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐิติยา เพชรมุนี
dc.contributor.author วนัสนันท์ กันทะวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T07:33:41Z
dc.date.available 2020-04-05T07:33:41Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64840
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการหลอกลวง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อ และแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมที่เกี่ยวกับการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยการศึกษาเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเชิงเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในหน่วยงานภาครัฐบาลและภาคประชาชน และผู้ตกเป็นเหยื่อ จำนวน 17 คน ผลการศึกษาพบว่าวิธีการหลอกลวงประชาชนให้ตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมี 2 กรณี คือ 1) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นบุคคลธรรมดา มีวิธีการสอนให้เก็งกำไรด้วยตัวเองผ่านบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศ โดยผู้กระทำผิดจะได้รับเงินจากการสอนคอร์สสัมมนา และค่าตอบแทนจากบริษัทเก็งกำไรในต่างประเทศในลักษณะของ Internal Broker หรือ IB 2) กรณีผู้กระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล มีวิธีการจัดตั้งทีมงานชักชวน อ้างว่าใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือหุ่นยนต์เก็งกำไร เน้นการชักชวนประชาชนเข้าร่วมลงทุน มีการการันตีผลตอบแทนและกำหนดระยะเวลาที่จะได้รับเงิน นิติบุคคลจะได้เงินจากการร่วมลงทุน ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนที่เข้าข่ายแชร์ลูกโซ่ วิธีการชักชวนจะประกาศโฆษณาผ่านทาง Facebook และพูดคุยผ่านทาง LINE ผลการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตกเป็นเหยื่อพบว่ามี 8 ปัจจัย ได้แก่ 1) เศรษฐกิจ 2) ความโลภ 3) เทคโนโลยีสมัยใหม่ 4) คบหาสมาคม 5) ภาพลักษณ์ 6) ความรู้ความเข้าใจ 7) กิจวัตรประจำวัน 8) การทำงานภาครัฐ อีกทั้งผู้วิจัยได้พบปัญหาที่สำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านกฎหมาย 2) ปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ 3) ปัญหาในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) ปัญหาด้านการปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ 5) ปัญหาด้านการป้องกันอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับแชร์ลูกโซ่ มีแนวทางการป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ดังนี้ หน่วยงานการเงินการธนาคาร หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ภาคประชาชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรจัดตั้งคณะทำงาน (Task force) ทำงานร่วมกันในเชิงรุกในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ ได้แก่ 1) ควรมีการจัดตั้งศูนย์อาชญากรรมเศรษฐกิจแชร์ลูกโซ่ 2) พิจารณาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเหยื่อแชร์ลูกโซ่ 3) ผลักดันนโยบายด้านการออมเงินเเพื่อการแก้ปัญหาหนี้สินของประชาชน 4) ผลักดันแผนรับมือสังคมผู้สูงอายุในอนาคต เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อไป
dc.description.abstractalternative The purpose of Economic crimes: a case study of victimization of foreign exchange, explains method of forex frauds and factors involved to being victimized, including suggest the way to avoid being victimized by forex frauds. The method of this study is Qualitative Research which consists of Documentary and In-depth Interview. There are 17 key informants consists of governments and victims. The study found 2 methods of forex frauds; 1) Individual offenders seduce victims by pretend to be a specialist and offer forex seminar courses. They gain commission by Internal Broker and charge for their courses 2) Organization offenders proceed their business by persuades's team who offer investment claim to use A.I. robot to guarantee high profit and period of time to get money. These 2 methods are considered as Ponzi scheme. They use advertisement in Facebook and persuade in LINE platforms. The study found there are 8 factors involves being victimzed; 1) Economic 2) Greed 3) Technological 4) Association 5) Image 6) Knowledge 7) Routine activity 8) Government sector. Then, the study discovered 5 problems; 1) Legal 2) License 3) Operation of government officials 4) Ponzi scheme repression 5) Ponzi scheme prevention. Finally, the result leads to prevention of being victimize of foreign exchange guideline by banking sector, criminal justice and public sector establish Task force to work proactively; 1) Establish Ponzi scheme protection institution 2) Consider set up victims fund to remedies 3) Establish saving policy 4) Prepare for Aging society to prevent being victimize of foreign exchange.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1466
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Social Sciences
dc.title อาชญากรรมเศรษฐกิจ: ศึกษากรณีการตกเป็นเหยื่อการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
dc.title.alternative Economic crime: a case study of victimization of foreign exchange
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline อาชญาวิทยาและงานยุติธรรม
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Thitiya.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1466


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record