DSpace Repository

การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธงทิศ ฉายากุล
dc.contributor.author ธีรภัทร์ ถิระพล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-05T09:18:47Z
dc.date.available 2020-04-05T09:18:47Z
dc.date.issued 2562
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65091
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
dc.description.abstract ความแห้งแล้งเป็นปัญหาที่สำคัญต่อเกษตรกรรมของประเทศไทย เมื่อความแห้งแล้งเกิดขึ้นรุนแรงทำให้ผลผลิตของพืชผลทางการเกษตรเสียหายมากขึ้นด้วย ดังนั้นปัญหานี้ควรได้รับการติดตาม วางแผน และแก้ไขอย่างใกล้ชิด งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้ง อุณหภูมิพื้นผิว และหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายจากดาวเทียม Landsat 8 ระบบ OLI และ TIRS ที่ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีในปี พ.ศ. 2556 - 2561 นำมาคำนวณหาค่าอุณหภูมิพื้นผิว (LST) ด้วยวิธี Radiative Transfer Equation-Based Method (RTE) และคำนวณหาดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งคือ ดัชนีผลต่างความแห้งแล้ง (NDDI) และดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณ (VHI) จากนั้นนำมาหาความสัมพันธ์กับผลผลิตข้าว ซึ่งผลที่ได้พบว่า ดัชนีความแห้งแล้งและอุณหภูมิพื้นผิว ที่คำนวณได้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศของพื้นที่และรายงานของหน่วยงานราชการ ผลการหาความสัมพันธ์พบว่าเมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าสูงขึ้นทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลง ในทางตรงกันข้าม เมื่ออุณหภูมิพื้นผิวมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็มากขึ้นเช่นกัน ส่วนดัชนีความสมบูรณ์พืชพรรณและดัชนีผลต่างความแห้งแล้งมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกับผลผลิตข้าวคือ เมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าต่ำลงผลผลิตข้าวก็ต่ำลงและเมื่อดัชนีทั้งสองมีค่าสูงขึ้นผลผลิตข้าวมากขึ้น
dc.description.abstractalternative Drought is an important problem for agriculture in Thailand. When the drought is increased, the product of agriculture will be decreased. Therefore, this problem should be closely monitored, planned and resolved. The aims of this research are to calculate drought indices, land surface temperature and find a relationship with rice production in Ubon Ratchathani between 2013 to 2018. The satellite image can estimate Land Surface Temperature (LST) by using Radiative Transfer Equation-Based Method (RTE). In addition, it can calculate the drought indices by using Normalized Different Drought Index (NDDI) and Vegetation Health Index (VHI). Moreover, all of these indices can be used to find relationships with rice production. The results showed that drought indices and land surface temperature are calculated in accordance with the climate of the area and government reports. Meanwhile, the results of the relationship show that when the land surface temperature is higher, the rice production will decreases. On the other hand, when the land surface temperature is lower, the rice production also increases. The drought indices tends to be in the same direction as the rice production. When the drought indices are lower, the rice production decreases. In the same way, the drought indices are higher, the rice production also increases.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1278
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Engineering
dc.title การคำนวณหาดัชนีความแห้งแล้งและพืชพรรณจากอุณหภูมิพื้นผิวของข้อมูลดาวเทียมแลนด์แซท 8 และเปรียบเทียบกับผลผลิตข้าวในจังหวัดอุบลราชธานี
dc.title.alternative Calculation of drought and vegetation indices from land surface temperature of landsat 8 data and comparison to the rice production in Ubon Ratchathani
dc.type Thesis
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิศวกรรมสำรวจ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Thongthit.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2019.1278


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record