Abstract:
งานวิจัยนี้ได้คัดแยกแบคทีเรียจากดินบริเวณรากพืช 13 ชนิดคือ มะนาว หม่อน องุ่น มะขามเทศ มะม่วง กล้วย ลิ้นจี่ ตีนเป็ด มะขามหวาน ขนุน สัก มะม่วงหาวมะนาวโห่ และผักกาดหอม โดยแบคทีเรียที่ คัดแยกถูกนำมาทดสอบความสามารถในการยับยั้งราสาเหตุของโรคพืช 7 ชนิด ได้แก่ Acremonium furcatum, Colletotrichum gloeosporioides , Fusarium proliferatum, Fusarium moniliforme, Fusarium solani, Pyricularia oryzae และ Phytophthora palmivora ไอโซเลตของแบคทีเรียที่มี ความสามารถในการยับยั้งราได้หลากหลายและมีความสามารถยับยั้งราได้สูงที่สุด 2 ลำดับแรก คือ D9B56Y ที่แยกได้จากดินบริเวณต้นตีนเป็ดซึ่ง มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง P. oryzae และ F. moniliforme ได้ดีที่สุด ที่ 45.83% และ 34.48% ตามลำดับ และ G6B106 ที่แยกได้จากดินบริเวณ ต้นผักสลัด ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง C. gloeosporioides , F. solani และ P. oryzae ได้ดีที่สุด ที่ 35.14%, 30.23% และ 45.83% ตามลำดับ จากการพิสูจน์เอกลักษณ์โดยใช้สมบัติทางสัณฐานวิทยา พบว่าแบคทีเรียทั้งสองไอโซเลตย้อมติดสีแกรมบวกและสามารถสร้างเอนโดสปอร์ได้ และสมบัติทางพันธุ ศาสตร์โมเลกุล โดยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16s rDNA เปรียบเทียบกับฐานข้อมูล พบว่า D9B56Y มีความใกล้เคียงกับ Bacillus amyloliquefaciens MS622 (KY780539.1) 100.00% และ G6B106 มีความใกล้เคียงกับ Bacillus amyloliquefaciens FS1092 (CP038028.1) 99.93% เมื่อ ทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งราโดยใช้น้ำเลี้ยงเชื้อของแบคทีเรียผสมกับอาหารเลี้ยงเชื้อด้วยอัตราส่วน 1:1 พบว่า D9B56Y และ G6B106 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของราทั้ง 7 ชนิดที่นำมาทดสอบได้ โดย ทั้ง D9B56Y และ G6B106 มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้ง P. oryzae ได้ดีที่สุด ที่ 64.52% และ 100.00% ตามลำดับ ผลการทดลองเบื้องต้นนี้แสดงว่าแบคทีเรียทั้งสองไอโซเลตสามารถนำไปพัฒนาเพื่อใช้ในการ ควบคุมราที่ก่อโรคในพืชได้