DSpace Repository

ความผิดฐานอาชญากรรมสงครามตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ : ผลกระทบหากไทยเป็นภาคี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุผานิต เกิดสมเกียรติ
dc.contributor.author ศศวรรณ กาญจนพนัง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-10T21:06:28Z
dc.date.available 2020-04-10T21:06:28Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741733623
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65244
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดฐานอาชญากรรมสงครามตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ ซึ่งศาลอาญาระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินคดีกับบุคคลที่ได้กระทำการก่ออาชญากรรมที่มีความร้ายแรง โดยที่ผ่านมาในอดีตนั้น มีหลายครั้งที่บุคคลผู้กระทำผิดเหล่านีไม่ได้รับการลงโทษความผอดฐานอาชญากรรมสงครามเป็นความผิดประเภทหนึ่งที่อยู่ในเขตอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศ เดิมความผิดฐานอาชญากรรมสงครามก่อนมีการตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศยังไม่มีความชัดเจนโดยไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำในการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศหรือการขัดกันด้วยอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างอย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำในการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศหรือการขัดกันด้วยอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่ได้มีการระบุองค์ประกอบความผิด กระบวนวิธีพิจารณาความ และความร่วมมือทางอาญาระหว่างประเทศไว้อย่างชัดเจน แต่ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศมีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นการกระทำความผิดในการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศที่เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงต่ออนุสัญญาเจนีว่า 1949 และการกระทำที่เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงอื่น ๆ ต่อกฎหมายและจารีตประเพณีที่ใช้ในการขัดกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศ รวมทั้งการกระทำความผิดในการขัดกันด้วยอาวุธที่ไม่ใช่ระหว่างประเทศที่เป็นการละเมิดอย่างร้ายแรงอื่น ๆ ต่อข้อ 3 ร่วม ของอนุสัญญาเจนีวา 1949 ทั้งสี่ฉบับ และการละเมิดอย่างร้ายแรงอื่น ๆ ต่อกฎหมายจารีตประเพณีที่ใช้ในการขัดกันด้วยอาวุธที่ไม่มีลักษณะระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการกำหนดองค์ประกอบความผิดโดยคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมทั้งกระบวนวิธีพิจารณาความและความร่วมมือระหว่างประเทศในทางอาญาไว้อย่างชัดเจน ศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอนาจเสริม เมื่อศาลภายในไม่ประสงค์หรือไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ ประเทศไทยได้ลงนามเห็นชอบในหลักการของธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งน่าจะมีการให้สัตยาบันต่อไป โดยในการให้สัตยาบันนี้จะต้องพิจารณาถึงกฎหมายภายในที่มีอยู่ เพราะมีกฎหมายหลายประการที่ยังไม่สอดคล้องกับธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ รวมทั้งในเรื่องความผิดฐานอาชญากรรมสงคราม เมื่อไทยเข้าเป็นภาคีธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศตามพันธกรณีที่มี นอกจากนี้จะต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับผลกระทบทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นจากการเป็นภาคีธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study war crimes according to Rome statute of International Criminal Court which created a permanent war crime tribunal known as International Criminal Court or ICC. This Global court proposes to investigate and prosecute those individuals accused of crimes against humanity, genocide, crimes of aggression and war crimes. เท the past, for several times those individuals got away from any punishment for their serious offense. War crime is one of many crimes prosecuted under International Criminal Court Jurisdiction. Before International Criminal Court took up their duties, there was no certain separation between international armed conflict and non-international armed conflict, and also there was no clear identification of elements of crimes, procedure and international cooperations. For International Criminal Court era, there are outstanding provisions to international armed conflicts war crimes which grave breaches of the Geneva Convention 1949 and other serious violation of the law and customs applicable in international armed conflicts , non-international armed conflicts war crimes which serious violations of article 3 common to the four Geneva Convention of 1949 committed in non-international armed conflicts and other serious violations of the laws and customs applicable in non- international armed conflicts. Furthermore, International Criminal Court by preparatory committee distinctly appointed elements of crimes, procedure and international cooperations for International Crime Court. International Criminal Court jurisdiction shall be complementarity when domestic court unwillingly prosecute or inable to handle the offenders. Thailand is one of many signatory states and shall ratify in order to investigate and prosecute those individuals committed a serious crimes. But before this ratification, Thailand should discreetly consider the existing domestic law especially criminal law which some acts don’t accord to the Rome statute including war crimes. If Thailand must amend the law to conform International Criminal Court regulations whichever obligate to the signatory states, it must contemplate and assess both sides of the effects on its own public interests.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อาชญากรสงคราม -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject ศาลอาญาระหว่างประเทศ en_US
dc.subject ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ en_US
dc.subject สงคราม (กฎหมายระหว่างประเทศ) en_US
dc.subject กฎหมายระหว่างประเทศ en_US
dc.subject War criminals -- Law and legislation en_US
dc.subject International criminal courts en_US
dc.subject International Court of Justice en_US
dc.subject War (International law) en_US
dc.subject International law en_US
dc.title ความผิดฐานอาชญากรรมสงครามตามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ : ผลกระทบหากไทยเป็นภาคี en_US
dc.title.alternative War crimes in the Rome statute of the international criminal court : Impact on Thailand in the event of Thailand's ratification en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Suphanit.k@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record