DSpace Repository

การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 : ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์
dc.contributor.advisor ธัชชัย ศุภผลศิริ
dc.contributor.author เอกอัคร จิตตานนท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2020-04-12T20:10:46Z
dc.date.available 2020-04-12T20:10:46Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741721943
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65303
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การปรับโครงสร้างกิจการตาม พรก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ได้มีการสร้างมาตรการทางกฎหมายขึ้นเพื่อให้ลูกหนี้สามารถปรับโครงสร้างในการบริหารกิจการและธุรกิจของลูกหนี้ให้ยังคงสถานะกิจการไว้ได้ และสามารถสร้างรายได้นำเงินมาชำระหนี้คืนให้กับ บสท. ได้ มาตรการต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น การให้อำนาจแก่ บสท. ในการพิจารณาปรับโครงสร้างกิจการ และพิจารณาแผน การแต่งตั้งผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน และการสร้างข้อจำกัดสิทธิของบุคคลต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิดและหลักการของกฎหมายปรับโครงสร้างกิจการ รวมไปถึงปัญหาและข้อพิจารณาเกี่ยวกับมาตรการต่าง ๆ ที่ บสท. นำมาใช้ในการปรับโครงสร้างกิจการ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้การปรับโครงสร้างกิจการมีความเหมาะสมและเป็นธรรม เพื่อบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลที่เข้าร่วมในการปรับโครงสร้างกิจการได้อย่างแท้จริง จากการศึกษาพบว่ากฎหมายปรับโครงสร้างกิจการเป็นกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูฐานะกิจการของลูกหนี้โดยเน้นหลักการในเรื่องความมีประสิทธิภาพและความรวดเร็วเป็นหลัก แต่กฎหมายดังกล่าวยังมีหลักเกณฑ์บางประการที่ไม่ชัดเจนและขาดความเหมาะสม เช่นการไม่มีบทบัญญัติให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างกิจการ การจำกัดสิทธิเจ้าหนี้ในการพิจารณาแผน การจำกัดอำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ การขาดหลักเกณฑ์ในการเข้าร่วมกระบวนการของเจ้าหนี้ภาษี การกำหนดหลักเกณฑ์การหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกันได้โดยง่าย และการใช้อำนาจของ บสท. ในการร้องขอต่อศาลให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ เพื่อให้กฎหมายปรับโครงสร้างกิจการมีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้เขียนได้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาเป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยการเพิ่มบทบัญญัติให้ความคุ้มครองเจ้าหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างกิจการ การกำหนดสิทธิของเจ้าหนี้ในการพิจารณาแผน การเพิ่มอำนาจศาลในการใช้ดุลพินิจ การเพิ่มหลักเกณฑ์เรื่องเจ้าหนี้ภาษี การเปิดช่องให้ลูกหนี้พิสูจน์สถานะตนเองในกรณีที่ บสท. ร้องขอต่อศาลให้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และ 2) การแก้ไขด้วยวิธีการจัดการและนโยบายของ บสท. โดยการกำหนดนโยบายให้ บสท. ต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เจ้าหนี้จะได้รับเป็นสำคัญ ทั้งในเรื่องการได้รับชำระหนี้และการพิจารณาแผนโดยต้องถือว่าเจ้าหนี้มีประกันเป็นเจ้าหนี้ที่อยู่ในลำดับเดียวกับ บสท. และมีสิทธิเท่ากับ บสท. สำหรับเรื่องการหลุดพ้นความรับผิดของผู้ค้ำประกันนั้น บสท. จะต้องกำหนดแนวทางที่เหมาะสมในการพิจารณารับชำระหนี้จากผู้ค้ำประกัน เช่น พิจารณาจากคักยภาพของผู้ค้ำประกัน และการสืบทรัพย์ผู้ค้ำประกัน เป็นต้น
dc.description.abstractalternative Business Reorganization under Thai Asset Management Corporation Royal Ordinance B.E. 2544 has created the legal measure required for success เท the debtor's business reorganization in order to enable the debtor’s business to continue efficiently and to generate the revenue which can be applied to make debt repayments. The legal measure are such as the empower of TAMC to consider the plan, the empower of TAMC to appoint a planner and a plan administrator, and the automatic stay. This thesis aims at the study of the concept of business reorganization and problems arising from the application of the legal measure under TAMC Royal Ordinance. It recommends guidelines for solving problems for supporting the law to be fairness and suitability and can be applied efficiently and also make the truly benefits to the parties who participate เท the business reorganization of the debtor. Upon the study, the law of business reorganization is the assistance provided for debtor to rehabilitate its business by emphasizing the efficiency and quickness. However, it is likely that this law has some unclear and unsuitable provision. For example, there is no provision to protect the creditor impaired from the reorganization process and no provision about tax creditor to participate the plan. Moreover, there is the limitation of right to consider the reorganization plan by the creditor and the limitation of the Court authorization to use his discretion. Also there are some unclear provisions about the release of guarantor from indebtedness and about TAMC’ s extra power to file a petition with the Court for the Court to adjudge that the debtor and guarantor bankrupt. In order to improve this law to be more suitable and efficient, the author proposes the problem solving by 2 procedures which are 1) the amendment and addition the law by stipulating the provision to protect the creditor impaired from the reorganization and stipulating the right of creditor in considering the plan, the addition of Court authorization to use his discretion, the specification about tax creditor, the allowance for the debtor to prove his condition in case TAMC file a petition with the bankruptcy Court and 2) the amendment in TAMC' s management and policy by making policy concerning about the majority of creditor’s benefit in both of the debt repayment and the right of consideration the plan. Also, TAMC should be realized that the secured creditor must be in the same classification as TAMC and has the equal right to TAMC. Furthermore, TAMC should specify the proper measure to release the guarantor from indebtedness such as the consideration from the ability to pay and property-finding etc.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย en_US
dc.subject การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน en_US
dc.subject สถาบันการเงิน en_US
dc.subject พระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 en_US
dc.subject Asset-liability management en_US
dc.subject Financial institutions en_US
dc.subject Thai Asset Management Corporation Royal Ordinance B.E. 2544 en_US
dc.title การบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพตามพระราชกำหนดบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ. 2544 : ศึกษาเฉพาะกรณีการปรับโครงสร้างกิจการ en_US
dc.title.alternative Management of non-performing assets under Thai Asset Management Corporation Royal Ordinance B.E. 2544 : study on business reorganization en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Paitoonlaw@hotmail.com
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record