Abstract:
ชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุในแขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในใจกลางเมืองเป็นชุมชนที่มีสภาพความเป็นอยู่แออัดมีการปลุกสร้างบ้านเรือน สภาพบ้านค่อนข้างทรุดโทรม ขาดความเป็นระเบียบ กรมธนารักษ์มีนโยบายในการพัฒนาเพี่อจัดหา ประโยชน์โดยโยกย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมที่เป็นผู้เช่าที่ขณะนี้ได้สิ้นสุดสัญญาเช่าแล้ว การศึกษาลักษณะการอยู่อาศัยในปัจจุบัน ตลอดจนความต้องการ และความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัย มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะเป็นตัวบ่งชี้โอกาสและทางเลือกในการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ การวิจัยในการวิจัย คือ 1) ศึกษาสภาพการอยู่อาศัย สังคม เศรษฐกิจ ของผู้อยู่อาศัยในที่ราชพัสดุ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัย ต่อการพัฒนาที่ดินราชพัสดุบริเวณชุมชนซอยพิพัฒน์2 ในสำนของความคดเห็นในการพัฒนาที่ราชพัสดุ ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างทางเลือกในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย สรุปว่ารุมีประสบการณ์ได้ให้ความคิดเห็นในการโยกย้ายที่อยู่อาศัยในที่ราชพัสดุแปลงนี้รวม 4 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ไม่ต้องการอยู่ในที่ดินเดิมและขอรับเงินค่าชดเชยการรื้อย้าย หางเลือกที่ 2 ขอให้ทางราชการจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อรองรับการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ทางเลือกที่ 3 การประสานการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (Land Sharing) ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นการแบ่งที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมและให้สิทธิการเช่าระยะยาว โดยผู้อยู่อาศัยจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน หางเลือกที่ 4 ต้องการอยู่อาศัยในที่ดินเดิมโดยปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคงแข็งแรง และยินยอมให้ทางราชการปรับปรุงค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามสภาพทำเล ซึ่งได้นำทางเลือกดังกล่าวที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์สร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง เพื่อทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2
จากการศึกษาพบว่า 1)ในด้านเศรษฐกิจผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้ระดับปานกลางมีอาชีพค้าขายและทำงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อครัวเรือนเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่หนี้สิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบ 2) ในด้านสังคมความสัมพันธ์ภายในชุมชนของผู้อยู่อาศัยจะรู้จักกันเกือบทุกครอบครังเพราะอยู่อาศัยมานานมาก มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการรวมกันในการระดมความคิดและช่วยกันแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีผู้นำชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยไว้วางใจ 3) ในด้านกายภาพพบว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 จะอยู่อาศัยในที่ดินมานานกว่า 40 ปี ลักษณะที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยโดยเฉลี่ยประมาณ 40-60 ตารางเมตร มูลค่าที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วง ราคา 100,000-400,000 บาท และการใช้ประโยชน์โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย 4) ในเรื่องความคิดเห็นในการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ต้องการอยู่ในที่ดินแปลงเดิมและเห็นควรให้มีการปรับปรุงทางด้านกายภาพ โดยยินยอมให้ทางราชการปรับปรุงค่าเช่าเพิ่มขึ้น รองลงมาขอรับเงินค่าชดเชยการรื้อย้าย และให้มีการประสานการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (Land Sharing) ตามลำดับ สำหรับทางเลือกที่ขอให้ทางราชการจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อรองรับการโยกย้ายที่อยู่อาศัยไม่มีผู้ให้สัมภาษณ์รายใดที่เลือกทางเลือกนี้เลย ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาชุมชนซอยพิพัฒนา 2 เป็นชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากและมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน ดังนั้นในการโยกย้ายชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับหลักนิติศาสตร์ข้อเสนอแนะในระยะสั้น กรมธนารักษ์อาจใช้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ประกอบการวางแผนและพิจารณาดำเนินการในขั้นต่อไปได้ ข้อเสนอแนะในระยะยาว กรมธนารักษ์ควรพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวนโยบายและทางเลือกในการพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อให้เห็นผลเป้นรูปธรรมต่อไปโดย 1) จัดทำทางเลือกในการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงนี้ที่ครอบคลุมเรื่องการรื้อย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมในเชิงลึก ที่มีความละเอียด ชัดเจนและกว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งอาจต้องทำการประเมินมูลค่าที่ดิน ผลตอบแทนทางด้านการเงินและสังคม ความเป็นไปได้และโอกาสในการพัฒนาที่ดิน 2) มีการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย จุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละทางเลือก และโอกาสในการพัฒนาที่เหมาะสม 3) นำผลการดำเนินการมาใช้ในการตัดสินใจในทางเลือกที่เหมาะสมและสมประโยชน์ที่สุด โดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนของประเทศเป็นสำคัญด้วย