Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องการพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมในระดับประเทศ ภูมิภาค ปริมณฑล และจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมในระดับต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น โดยใช้เทคนิคการพยากรณ์เชิงสถิติ ได้แก่ วิธีการวิเคราะห์การถดถอย วิธีการปรับให้เรียบแบบเอกซโปเนนเชียล วิธีอัตถดถอย วิธีการวิเคราะห์อนุกรมเวลาแบบคลาสสิค และวิธีการวิเคราะห์ตัวแบบการถดถอยที่มีค่าคลาดเคลื่อนในรูปแบบ AR และใช้ค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ (MAPE ) เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ทั้ง 5 วิธี ในการวิจัยครั้งนี้ข้อมูลที่นำมาศึกษานั้นเป็นข้อมูลทุติยภูมิ โดยรวบรวมมาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ดังนี้ คือ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมศุลกากร กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม และธนาคารแห่งประเทศไทย การเปรียบเทียบตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากวิธีการต่าง ๆ ทั้ง 5 วิธี โดยพิจารณาจากค่า MAPE ได้ผลสรุปว่าตัวแบบอนุกรมเวลาแบบคลาสสิคเหมาะกับการพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมระดับประเทศ และจังหวัดกรุงเทพมหานครตัวแบบการถดถอยเหมาะกับการพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปริมณฑล ตัวแบบการถดถอยที่มีค่าคลาดเคลื่อนอยู่ในรูปแบบ AR จะเหมาะกับการพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมในภาคใต้ จากนั้นนำตัวแบบมาพยากรณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมล่วงหน้าอีก 3 ปี คือ 2544-2546 จากผลการถยากรณ์สรุปได้ดังต่อไปนี้ อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมระดับประเทศ : ในปี 2544 ประเทศไทยจะมีอัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 3.6% และมีแนวโน้มลดลงที่ในปี 2545 และ 2546 คือ มีอัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 3.5% อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคกลาง : ในช่วงปี 2544 – 2546 อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคกลาง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ มีอัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 2.17% 2.32% และ 2.47% ในปี 2544 2545 และ 2546 ตามลำดับ อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือ : ใวงปี 2544 – 2546 อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคเหนือ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ มีอัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 2.44% 2.59% และ 2.73% ในปี 2544 2545 และ 2546 ตามลำดับ อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ในช่วงปี 2544 – 2546 อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ มีอัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 4.75% 5.13% และ 5.49% ในปี 2544 2545 และ 2546 ตามลำดับ อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคใต้ : ในช่วงปี 2544 – 2546 อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมของภาคใต้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คือ มีอัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 2.06% 2.19% และ 2.34% ในปี 2544 2545 และ 2546 ตามลำดับ อัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดกรุงเทพมหานคร : ในช่วงปี 2544 – 2546 อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมของจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มลดลง คือ มีอัตราการวางงานในภาคอุตสาหกรรม 3.61% 3.45% และ 3.29% ในปี 2543 2544 2545 และ 2546 ตามลำดับ จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการรองรับสถานการณ์อัตราการว่างงานในภาคอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า และวางนโยบายต่าง ๆ ที่จะป้องกันหรือบรรเทาปัญหาการวางงาน เพื่อไม่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับความเดือดร้อน