dc.contributor.advisor |
ขวัญสรวง อติโพธิ |
|
dc.contributor.author |
ผไททิพย์ ทับสุวรรณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-16T10:17:47Z |
|
dc.date.available |
2020-04-16T10:17:47Z |
|
dc.date.issued |
2544 |
|
dc.identifier.isbn |
9740310664 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65341 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
|
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักร การศึกษาตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของระบบถนนที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบถนนที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่เมือง โดยได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า ปัญหาโครงสร้างของระบบคมนาคมในรูปแบบของถนนในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการลงทุนในการก่อสร้างระบบโครงข่ายคมนาคมในลักษณะของการขาดการประสานงานร่วมกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงใช้วิธีในการศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรใน 3 ช่วงเวลา คือ ยุคแรกเริ่ม ยุคโครงข่ายถนนหนาแน่นในเขตเมือง ยุคโครงข่ายถนนขยายตัวไปทุกทิศทางและปัจจุบัน ในประเด็นด้านลักษณะของการพัฒนา โครงข่ายถนน การพัฒนาเมือง สภาพการสัญจร และบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาส่การสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเมืองอันเป็นผลมาจากการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบถนนในอดีตของภาครัฐที่ขาดการวางแผนจัดการที่ดี และไม่สามารถชี้นำการพัฒนาอย่างเหมาะสมต่อภาคเอกซน รวมถึงการขาดการประสานงานการพัฒนาระบบถนนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงข่ายถนนของกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ จึงได้ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ 2 ประเด็น คือ ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกชน และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกซน ทั้งในกรุงเทพมหานครและในเขตจตุจักร จากข้อเสนอแนะทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักรมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างถนนแต่แรกริ่มของทุกฝ่ายต่อไป |
|
dc.description.abstractalternative |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการดำเนินการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักร การศึกษาตามวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อขยายความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการณ์ปัจจุบันของระบบถนนที่เป็นผลมาจากการดำเนินงานของผู้ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องต่าง ๆ และความเชื่อมโยงของการพัฒนาระบบถนนที่มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่เมือง โดยได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาว่า ปัญหาโครงสร้างของระบบคมนาคมในรูปแบบของถนนในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการลงทุนในการก่อสร้างระบบโครงข่ายคมนาคมในลักษณะของการขาดการประสานงานร่วมกันทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติของภาครัฐและภาคเอกชน ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงใช้วิธีในการศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรใน 3 ช่วงเวลา คือ ยุคแรกเริ่ม ยุคโครงข่ายถนนหนาแน่นในเขตเมือง ยุคโครงข่ายถนนขยายตัวไปทุกทิศทางและปัจจุบัน ในประเด็นด้านลักษณะของการพัฒนา โครงข่ายถนน การพัฒนาเมือง สภาพการสัญจร และบทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในแต่ละช่วงเวลา เพื่อนำมาส่การสร้างความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเมืองอันเป็นผลมาจากการดำเนินการพัฒนาโครงข่ายการสัญจรเป็นสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบถนนในอดีตของภาครัฐที่ขาดการวางแผนจัดการที่ดี และไม่สามารถชี้นำการพัฒนาอย่างเหมาะสมต่อภาคเอกซน รวมถึงการขาดการประสานงานการพัฒนาระบบถนนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทำให้โครงข่ายถนนของกรุงเทพมหานคร และเขตจตุจักรในปัจจุบันขาดประสิทธิภาพ จึงได้ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ 2 ประเด็น คือ ข้อเสนอแนะในการจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกชน และข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบถนนโดยหน่วยงานต่าง ๆ และภาคเอกซน ทั้งในกรุงเทพมหานครและในเขตจตุจักร จากข้อเสนอแนะทั้ง 2 ประเด็นนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบถนนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตจตุจักรมีประสิทธิภาพตรงตามวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างถนนแต่แรกริ่มของทุกฝ่ายต่อไป |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject |
ความร่วมมือระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน |
|
dc.subject |
ถนน |
|
dc.subject |
จราจรในเมือง |
|
dc.subject |
เขตจตุจักร (กรุงเทพฯ) |
|
dc.subject |
Public-private sector cooperation |
|
dc.subject |
Roads ; Streets |
|
dc.subject |
City traffic |
|
dc.subject |
Chatuchak District Bangkok |
|
dc.title |
บทบาทของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาระบบถนนในพื้นที่เมือง กรณีศึกษาเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร |
|
dc.title.alternative |
Roles of public and private sectors in the development of road system in urban area : a case study of Chatuchak District Bangkok |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การวางผังเมือง |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|