Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้านล้านนาใน ด้านบุคลิกลักษณะ พฤติกรรมและโครงสร้างชีวิต พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับตัวละครเอก กำพร้าที่ปรากฏในอรรถกถาชาดก ปัญญาสชาดก ชาดกพื้นบ้านและนิทานกำพร้าของชนชาติไท ผู้วิจัยใช้ข้อมูลชาดกพื้นบ้านล้านนาที่มีตัวละครเอกกำพร้า 49 เรื่อง ผู้วิจัยได้จำแนกตัว ละครเอกกำพร้าเป็น 3 ประเภทตามสาเหตุของความเป็นกำพร้าคือ ตัวละครเอกกำพร้าที่บิดา มารดาสิ้นชีวิต ตัวละครเอกกำพร้าที่ไม่ปรากฏชัดเจนว่าบิดามารดาเป็นใครและตัวละครเอก กำพร้าที่พลัดพรากจากบิดามารดา ด้านบุคลิกลักษณะพบว่าตัวละครเอกกำพร้ามีลักษณะที่เป็น พระโพธิสัตว์ตามอุดมคติทางพุทธศาสนา อาทิ ลักษณะเกี่ยวกับการการกำเนิด รูปลักษณ์พิเศษ ส่วนสถานภาพของตัวละครเอกกำพร้าส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่ยากจน ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ชีวิตของตัวละครเอกกำพร้า ผู้วิจัยได้จำแนกเป็นสามช่วงชีวิตคือ ช่วงเริ่มต้นของชีวิต เป็นเรื่องราว ชีวิตตั้งแต่ยังไม่เกิด กระทั่งคลอดออกมาจนถึงวัยเด็ก ชีวิตช่วงนี้เป็นการกล่าวถึงสาเหตุความ กำพร้า สภาพชีวิตความเป็นอยู่ตอนเริ่มต้น บุคลิกลักษณะและการได้พบกับผู้อุปถัมภ์ของตัวละคร เอกกำพร้า ช่วงชีวิตที่สองคือชีวิตในช่วงผจญภัย/เผชิญอุปสรรค เป็นการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวข้องกับ การเดินทาง การผจญภัยและการประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคต่าง ๆ ให้ต้องแก้ไข ส่วนช่วงสุด ท้ายของชีวิต ปัญหาต่าง ๆ จะคลี่คลายไปสู่จุดจบ ตัวละครเอกกำพร้าประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยการได้ครองเมืองหรือการมีทายาท ผลการศึกษาวิจัยสามารถสรุปได้ว่า ลักษณะเด่นของตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้าน ล้านนาเป็นการผสมผสานกันระหว่างบทบาทของพระโพธิสัตว์ พระเอกในนิทานจักรๆวงศ์ๆและ ชาวบ้านธรรมดา ลักษณะตังกล่าวคล้ายคลึงกับตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้านของไทเขิน เพราะทั้งสองกลุ่มมีความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและมีการรับรู้วรรณกรรมร่วมกัน ในขณะที่ตัว ละครเอกกำพร้าในอรรถกถาชาดกและปัญญาสชาดกจะมุ่งแสดงบทบาทของพระโพธิสัตว์เป็น สำคัญ ส่วนตัวละครเอกกำพร้าในนิทานกำพร้าของชนชาติไทและกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ในอุษาคเนย์ ตอนกลาง มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะแสดงบทบาทของพระเอกแบบชาวบ้าน อนึ่งลักษณะและเรื่องราวชีวิตของตัวละครยังสามารถสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิต ความเชื่อ ค่า นิยมและอุปนิสัยของชาวล้านนา ลักษณะความสัมพันธ์ในสังคมล้านนา ตลอดจนลักษณะร่วม และแตกต่างทางสังคมระหว่างล้านนากับสังคมอื่น นอกจากนี้ตัวละครเอกกำพร้าในชาดกพื้นบ้าน ล้านนายังมีบทบาทในการเป็นความหวังและการชดเชยให้กับกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสในสังคมด้วย