DSpace Repository

ประชาสังคม เวทีสาธารณะ กับกระบวนการกลายเป็นประเด็นสาธารณะ : ศึกษากรณีโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.advisor อมรา พงศาพิชญ์
dc.contributor.author วิรัชต์ แสงดาวฉาย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial คลองด่าน (สมุทรปราการ)
dc.date.accessioned 2020-04-18T22:30:12Z
dc.date.available 2020-04-18T22:30:12Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741733976
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65381
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การศึกษานี้เป็นความพยายามที่จะพัฒนาแนวคิดเรื่องประชาสังคมในสังคมไทย ในส่วนที่เป็นการเกิด การดำรงอยู่ โดยเฉพาะเงื่อนไขและช่องทางการแสดงบทบาทที่จำกัดไว้ในเรื่องของการสร้างพื้นที่ทางการเมืองซึ่งชาวบ้านและกลุ่มประชาสังคมจะสามารถแสดงบทบาทต่อการจัดการปัญหาสาธารณะได้ โดยศึกษาผ่านกระบวนการกลายเป็นประเด็นสาธารณะในกรณีโครงการก่อสร้างโรงบำบัดนาเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นกรณีผลกระทบจากการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมมีสาระสำคัญเป็นเรื่องของการผลักดันปัญหาที่เป็นผลจากการจัดการเรื่องสาธารณะในโครงการขนาดใหญ่ ของรัฐให้เป็นที่รับรู้อย่างมีความหมายร่วมกันของคนในสังคมระดับต่าง ๆ และบทบาทของกลุ่มประชาสังคมและชาวบ้านผู้จะได้รับผลกระทบจากการจัดการปัญหาสาธารณะภายในกระบวนการกลายเป็นประเด็นสาธารณะนี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการศึกษาครั้งนี้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การกลายเป็นประเด็นสาธารณะของกรณีโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเหตุการณ์ที่มีการรับรู้อย่างมีความหมายว่าเป็นเรื่องส่วนรวมของคนในสังคมตั้งแต่ระดับปัจเจกชน มีการขยายการรับรู้นี้ไปสู่ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ มีลักษณะการเกิดแบบกระบวนการที่มีหลายองค์ประกอบและหลายมิติที่สำคัญ ได้แก่ มิติของกระบวนการทางสังคมของข่าวสารที่เป็นเรื่องของการใช้ข้อมูลที่ตั้งอยู่บนฐานของการเป็นข้อเท็จของเหตุการณ์ไปสร้างความชอบธรรมแก่การเคลื่อนไหวคัดค้านโครงการฯได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล มิติของ ความเป็นเจ้าของที่เป็นเรื่องของการมีสำนึกสาธารณะและผลประโยชน์ร่วมของคนกลุ่มต่าง ๆในสังคม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีพื้นที่ทางการเมืองเฉพาะของตนเอง ฯลฯ การกลายเป็นประเด็นสาธารณะจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยทั้งด้านมิติเชิงความคิดและมีติเชิงสังคม ขณะเดียวกัน ได้เปิดพื้นที่ทางการเมืองให้แก่ชาวบ้านผู้จะได้รับผลกระทบได้แสดงบทบาท ต่อการจัดการเรื่องสาธารณะและเปิดช่องให้กลุ่มคนที่มีพื้นที่ทางการเฉพาะของตนเองเข้ามีส่วนร่วมตามบทบาทหน้าที่ที่เป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่มนั้น ๆ ด้วย เงื่อนไขที่นำไปสู่การเกิด “ความเป็นเจ้าของ” เป็นผลจากการมี สำนึกรักถิ่นฐาน การคำนึงถึงผลประโยชน์ไนที่ทำกินและผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ และการจัดการปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการดำเนินโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียเอง ผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นถึงการกลายเป็นประเด็นสาธารณะจากกรณีผลกระทบจากการจัดการปัญหา สิ่ง แวดล้อมและการมีบทบาทของภาคประชาสังคมนี้ ยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบทบาทประชาสังคม การสร้างพื้นที่ทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางสังคมด้วย
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to review the role of civil society in Thai society in the establishment and its existence. The conditions and channel which civil society can play a role in the public sphere in political society. Through these conditions and channels people and civil groups can play their roles towards public issue management. The study was carried out through public-issue peocesses in the case of the Klong Dan Wastewater Treatment Plant Construction Project at Samut Prakarn Province. The study identifies the issue of case environmental management focusing on people’s participation in public management of large infrastructure project and the role of civil groups. The findings show that public-issue peocesses of the project are the concern of people at individual, local and national levels. There are processes with multi-functions and various dimensions. Lack of poltical information on legal facts accererlated social movement against the project rationalliy. Public conscience of the social groups in specific political arena at defferent levels provide an opportunity for people to participate in social movements according to there roles. “The sense of ownership” resulted from the following conditions : sense of belonging to the community, land use benefit, impacts on their living conditions, and project corrution. Moreover, the study pointout the relationship between civil society roles, the setting up of social groups in specific political arena and social movement.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ en_US
dc.subject ประชาสังคม -- ไทย en_US
dc.subject การจัดการสิ่งแวดล้อม -- การมีส่วนร่วมของประชาชน en_US
dc.subject คลองด่าน (สมุทรปราการ) en_US
dc.subject Klong Dan Wastewater Treatment Plant Construction Project at Samut Prakarn Province en_US
dc.subject Civil society -- Thailand en_US
dc.subject Environmental management -- Citizen participation en_US
dc.subject Klong Dan (Samut Prakarn) en_US
dc.title ประชาสังคม เวทีสาธารณะ กับกระบวนการกลายเป็นประเด็นสาธารณะ : ศึกษากรณีโครงการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำเสียคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ en_US
dc.title.alternative Civil society, public arena and public-issue processes : a case study of the Klong Dan Wastewater Treatment Plant Construction Project at Samut Prakarn Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline สังคมวิทยา en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Amara.P@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record