dc.contributor.advisor |
Sitthichok Puangthongtub |
|
dc.contributor.author |
Woranan Yeemadarlee |
|
dc.contributor.other |
Chulalongkorn University. Faculty of Science |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-22T08:20:42Z |
|
dc.date.available |
2020-04-22T08:20:42Z |
|
dc.date.issued |
2018 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65458 |
|
dc.description |
In Partial Fulfillment for the Degree of Bachelor of Science Program in Environmental Science, Faculty of Science Chulalongkorn University Academic Year 2018 |
en_US |
dc.description.abstract |
Each year, many electronic products are obsolete or broken resulting in large electronic waste generation. Daeng Yai subdistrict, Ban Mai Chaiyaphot District and Ban Pao subdistrict, Phutthaisong District in Buriram province were a main hub of e-waste recycling in Thailand. Exposure to common e-waste dismantling, recycling and burning could cause adverse health effects in sensitive population like pregnant women. This e-waste recycling exposure may risk them for adverse birth outcomes. In Thailand, the knowledge of relationship between adverse birth outcomes and maternal living in an e-waste recycling site was very limited. This study applied a retrospective epidemiological design to investigate the association between maternal living in e-waste recycling site and 6 adverse birth outcomes of stillbirth, very low birth weight (VLBW), low birth weight (LBW), preterm birth (PTB), intrauterine growth retardation (IUGR) and all adverse birth outcomes (ABO) and estimated adjusted odds ratio (AOR) using multiple logistic regression by SAS®. The studied population were all infants whose mothers had deliverance at the Burirum hospital between 2010-2019. A number of 35,682 birth records were retrieved from the hospital and were geocoded into 2 groups regarding maternal living address: an exposed group (n = 96) in those 2 subdistricts and a reference groups in other districts (n= 35,682). For the results, we noticed that characteristics of mother and infant (maternal age, marital status, gestation age, pregnancy rate, abortion rate and infant’s sex) between two groups were not different except the marital status. Prevalences of 6 adverse birth outcomes were greater in the expose zone than those in the reference zone. Only ABO prevalence was statistically higher in the exposure zone (27.08%) than that in the reference zone (18.08%). The association between maternal living in e-waste community and all 6 adverse birth outcomes was observed but ABO was the only effect showed a statistically increased risk (AOR=1.67, 95% Cl: 1.05, 2.65). In young mothers (age ≤ 20), PTB was statistically associated with living in the e-waste site by an increased risk (AOR = 2.83, 95% CI: 1.14, 7.06). In pregnant women with single status, it showed a statistically significant increased risk in LBW (AOR=2.89, 95% Cl: 1.22, 6.84) and ABO (AOR= 2.87, 95% Cl: 1.34, 6.16). In a group of pregnant women with female infants, living inside e-waste area was considered the greatest risk of LBW as 14.49-fold higher risk than those living outside (AOR=14.49, 95% Cl: 1.74, 98.01). These findings could be used to plan for a financial support and to develop special heath care education and surveillance program to pregnant mothers living in the e-waste community with a priority to those who were single, young or having female infants to alleviate the risks. This work could be improved if exposure monitoring data were available. |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
ในแต่ละปีผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ถูกทิ้งมากมายและเกิดเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยตำบลแดงใหญ่ อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ และตำบลบ้านเป้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นแหล่งรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ใหญ่สุดในประเทศไทย การรับสัมผัสกิจกรรมการแยกขยะและการเผาขยะอิเล็กทรอนิกส์จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่มีความไวต่อการรับสัมผัส เช่น สตรีที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติแรกเกิดของทารกในครรภ์ได้ ทั้งนี้ในประเทศยังขาดองค์ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติแรกเกิดและการอาศัยอยู่ในพื้นที่รีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาระบาดวิทยาแบบย้อนหลังเพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างแม่ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กับ 6 โรคความผิดปกติแรกเกิดของเด็ก ได้แก่ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Still birth) ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมาก (VLBW) ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย (LBW) การคลอดก่อนกำหนด (PTB) ภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) และภาวะความผิดปกติแรกเกิดรวม (ABO) และคำนวณค่า adjusted odd ratio (AOR) ด้วยการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกพหุคูณด้วยซอฟแวร์ SAS® ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้คือทารกที่คลอด ณ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ในช่วงปี พ.ศ. 2553 ถึง 2562 รวมจำนวน 35,682 ราย ทารกจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่รับสัมผัส (จานวน 96 คน) และกลุ่มอ้างอิง (จานวน 35,682 คน) ซึ่งกลุ่มที่รับได้รับสัมผัส คือกลุ่มของทารกที่แม่อยู่อาศัยอยู่ใน 2 ตำบลที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอ้างอิง คือกลุ่มของเด็กทารกที่แม่อยู่อาศัยอยู่ในตำบลอื่นที่ไม่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ ผลการศึกษาพบลักษณะโดยทั่วไปของแม่และทารก (อายุมารดา, สถานภาพสมรส, อายุครรภ์, ครรภ์ที่, ประวัติการแท้ง) ระหว่าง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นสถานณะภาพสมรส พบความชุกของการเกิด 6 ความผิดปกติแรกเกิดของเด็กในพื้นที่ที่ได้รับสัมผัสสูงกว่าพื้นที่อ้างอิง แต่มีเพียงความชุกของ ABO ในพื้นที่รับสัมผัส (27.08%) ที่มากกว่าพื้นที่อ้างอิง (18.08%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พบความสัมพันธ์ระหว่างแม่ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์กับทั้ง 6 ความผิดปกติแรกเกิด โดยมีเพียง ABO ที่พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่ได้รับสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR=1.67, 95% Cl : 1.05,2.65) ส่วนกลุ่มแม่ที่อายุน้อย (≤20 ปี) ที่อยู่ในพื้นที่ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ พบความเสี่ยงของ PTB เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR = 2.83, 95% CI: 1.14, 7.06) ส่วนกลุ่มแม่ที่มีสถาณะภาพเป็นโสด พบความเสี่ยงมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของ LBW (AOR=2.89, 95% Cl: 1.22, 6.84) และ ABO (AOR= 2.87, 95% Cl: 1.34, 6.16) ส่วนกลุ่มแม่ที่ตั้งครรภ์ทารกเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีขยะอิเล็กทรอนิกส์พบความเสี่ยงมากที่สุดของ LBW ถึง 14.49 เท่า เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (AOR=14.49, 95% Cl: 1.74, 98.01) ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้วางแผนสำหรับการจัดสรรงบประมาณและพัฒนาแผนการดูแลสุขภาพและการเฝ้าระวังพิเศษในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับแม่ที่เป็นโสด แม่อายุน้อย หรือ แม่ที่ตั้งครรภ์ทารกเพศหญิงเพื่อลดความเสี่ยง การศึกษานี้จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้นหากมีข้อมูลการรับสัมผัสมลพิษในพื้นที่ศึกษา |
en_US |
dc.language.iso |
en |
en_US |
dc.publisher |
Chulalongkorn University |
en_US |
dc.rights |
Chulalongkorn University |
en_US |
dc.title |
Association between maternal living in e-waste recycling site and adverse birth outcomes in Buriram, Thailand |
en_US |
dc.title.alternative |
ความสัมพันธ์ระหว่างมารดาที่อาศัยในบริเวณที่มีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์กับความผิดปกติของเด็กแรกเกิดในจังหวัดบุรีรัมย์ ประเทศไทย |
en_US |
dc.type |
Senior Project |
en_US |
dc.email.advisor |
Sitthichok.Pu@Chula.ac.th |
|