Abstract:
จุดมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ การศึกษาถึงบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลัง การตัดสินใจของสหรัฐอเมริกาในประเด็นพิธีสารเกียวโต ซึ่งพิธีสารเกียวโตเป็นความร่วมมือภายใต้กรอบ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ พิธีสารดังกล่าวกำหนดให้ประเทศ อุตสาหกรรมมีพันธกรณีในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และทุกประเทศมีข้อผูกพันตาม กฎหมายในอันที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงแห่งพิธีสารนี้ สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ ร่วมลงนามในพิธีสารเกียวโตเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ.1998 แต่รัฐบาลภายใต้ประธานาธิบดีคลินดัน ไม่ได้เสนอเรื่องนี้เข้าล่การพิจารณาของสภาคองเกรสแต่อย่างใด โดยกล่าวว่าจะนำเสนอเรื่องนี้เข้าสู่การ พิจารณาของสภาก็ต่อเมื่อได้รับการยืนยันจากประเทศกำลังพัฒนาในการเข้าร่วมโครงการลดปริมาณก๊าซ เรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโตเช่นเดียวกับประเทศอุตสาหกรรมเสียก่อน ในปี ค.ศ.2001 ประธานาธิบดี จอร์จ ตับเบิลยู บุซ ขึ้นดำรงตำแหน่งได้ให้ฝ่ายบริหารทำการหารือในระตับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเกี่ยว กับนโยบายทางด้านสภาพภูมิอากาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งฝ่ายบริหารได้ออกแถลงการณ์ว่าพิธีสารเกียวโต เป็นนโยบายที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริง และในเดือนมิถุนายน ค.ศ.2001 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุซ ก็ได้ออกมาแถลงนโยบายในประเด็นพิธีสารเกียวโตว่า สหรัฐอเมริกาจะไม่เข้าร่วมในพิธีสารดังกล่าว ทั้งๆ ที่มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมลงนามและให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตแล้ว 140 กว่าประเทศ จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผลประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมน้ำมันมีบทบาท อย่างมากในการพยายามชักจูงรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในการดำเนินนโยบายในประเด็นพิธีสารเกียวโต ทำ ให้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากลุ่มธุรกิจและอุตสาหกรรมน้ำมันมีบทบาทอย่างมากในทางการเมืองสหรัฐอเมริกา และมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกา