Abstract:
แสง จัดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินอาหารและการหลบหลีกศัตรูของปลาวัยอ่อนและปลาระยะวัยรุ่น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในระบบนิเวศทางทะเลที่มีความซับซ้อนสูง งานวิจัยครั้งนี้สนใจศึกษาผลกระทบของความยาวคลื่นแสงต่อพฤติกรรมและโครงสร้างเซลล์รับภาพของปลากะพงขาว โดยคัดเลือกความยาวคลื่นแสงที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว ซึ่งพิจารณาจากพฤติกรรมและการมองเห็น ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหาร (Feeding), พฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูง (schooling) และ พฤติกรรมการว่ายน้ำ (swimming) และวัดขนาดของโครงสร้างเซลล์รับภาพ การศึกษานี้ทำการเลี้ยงปลากะพงขาว จำนวน 150 ตัว 15 ตู้ ตู้ละ 10 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และ 4 กลุ่มการทดลองที่ได้รับความยาวคลื่นแสงต่างกัน ได้แก่ แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีแดง (710 นาโนเมตร) แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีน้ำเงิน (435 นาโนเมตร) แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีเขียว (510 นาโนเมตร) และทึบแสง เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ พบว่า แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีแดง (710 นาโนเมตร) ส่งผลให้ค่าความยาวเหยียดเฉลี่ยและน้ำหนักมากที่สุด เวลาที่ปลากะพงขาวเห็นเหยื่อและกินเหยื่อจนหมด แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีแดงยังส่งผลทำให้ขนาดเซลล์รับภาพ และชั้นเซลล์รับแสง ขนาดกว้างกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) แสงไฟฟลูออเรสเซนต์สีแดงส่งผลให้มีการแสดงออกของพฤติกรรมได้ดีที่สุดและส่งผลต่อขนาดชั้นเซลล์รับภาพซึ่งผลของพฤติกรรมที่ได้มีความสอดคล้องกับขนาดชั้นเซลล์รับภาพ