Abstract:
เกาะสีชัง เป็นเกาะที่มีการเข้าไปใช้ประโยชน์เป็นอย่างมาก ทั้งจากการก่อตั้งชุมชน การขนส่ง ทางเรือ รวมถึงการท่องเที่ยว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล โดยเฉพาะระบบนิเวศแนว ปะการัง การศึกษาครั้งนี้ ได้ทำการศึกษาความหลากหลายของปลาในแนวปะการัง บริเวณเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีการดำน้ำสำรวจ (Visual census) และการสำรวจโดยลอบ พบปลาทั้งหมด 34 ชนิด จาก 16 วงศ์ จากการดำน้ำสำรวจทั้งสอง สถานี ได้แก่ บริเวณหน้าเรือนเขียว (สถานีที่ 1) ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเกาะสีชัง และบริเวณถ้ำพัง (สถานี ที่ 2) ทางด้านทิศตะวันตกของ เกาะ พบปลาทั้งหมด 26 ชนิด จาก 13 วงศ์ สถานีที่ 2 พบปลาทั้งหมด 24 ชนิด จาก 12 วงศ์ ซึ่งมีค่า มากกว่าสถานีที่ 1 พบปลาทั้งหมด 19 ชนิด จาก 9 วงศ์ สอดคล้องกับค่าดัชนีความหลากหลาย ของสิ่งมีชีวิต Simpson’s index และ Shannon-Wiener index โดยปลากลุ่มเด่นที่พบทั้งสองสถานี ได้แก่ ปลาสลิดหินเทาหางพริ้ว (Neopomacentrus filamentosus) ในวงศ์ปลาสลิดหิน (Pomacentridae) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่สามารถพบทั่วไปได้ในแนวปะการัง (Major family) ส่วนการสำรวจปลารอบเกาะสีชัง โดยใช้ลอบสำรวจนั้นพบปลาทั้งหมด 15 ชนิด จาก 11 วงศ์ โดยปลากลุ่มเด่นที่พบคือ ปลาสลิดหินแขก (Siganus javus) ในวงศ์ปลาสลิดทะเล (Siganidae) ปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) ในการศึกษาครั้งนี้พบทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่ ปลาผีเสื้อแปด แถบ (Chaetodon octofasciatus) และปลาผีเสื้อครีบจุด (Parachaetodon ocellatus) ซึ่งเป็นปลาในกลุ่มดัชนีที่สามารถบ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง ในการศึกษาครั้งนี้มีความ หนาแน่นของปลาผีเสื้อที่พบมากกว่าการศึกษาในอดีต แสดงว่าแนวปะการังบริเวณเกาะสีชังยังมีความ สมบูรณ์ แม้ว่าความหลากหลายของปลาในแนวปะการังบริเวณนี้มีค่าน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ บริเวณใกล้เคียง