DSpace Repository

การแพร่กระจายในแนวดิ่ง ความชุกชุม และลักษณะทางสัณฐานของหอยฝาเดียวในหาดหินบริเวณแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศุภณัฐ ไพโรหกุล
dc.contributor.author ปวีณ์กร จันทร์ขำ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-23T07:57:01Z
dc.date.available 2020-04-23T07:57:01Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65477
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract เขตน้ำขึ้นลงในหาดหินเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตามปรากฎการณ์น้ำขึ้นน้ำลง สิ่งมีชีวิตที่อาศัยในบริเวณดังกล่าวต้องเผชิญกับความเครียดจากความร้อนและความแห้งขณะช่วงเวลาน้ำลงซึ่งสามารถส่งผลต่อการแพร่กระจายตามแนวดิ่งและแหล่งที่อยู่อาศัยย่อยของสิ่งมีชีวิตในหาดหิน การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาการแพร่กระจายในแนวดิ่ง ความชุกชุม และลักษณะทางสัณฐานของหอยฝาเดียวในหาดหินบริเวณแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในเวลากลางคืน (มกราคม 2562) และในเวลากลางวัน (กุมภาพันธ์ 2562) ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างหอยฝาเดียวที่อยู่บนโขดหินขนาดใหญ่และขนาดเล็กตามแนวดิ่ง โดยใช้ตารางสี่เหลี่ยม (quadrat) ขนาด 20x20 ตารางเซนติเมตร จากนั้นทำการจัดจำแนกชนิดหอยฝาเดียวอย่างน้อยถึงระดับสกุล ผลการศึกษาพบหอยฝาเดียวทั้งหมด 7 ชนิด ได้แก่ Clithon oualaniensis, Thais sp., Planaxis sulcatus, Littoraria sp.1, Littoraria sp.2, Nodilitorina trochoides และ Nerita sp. โดยหอยฝาเดียวแต่ละชนิดมีการแพร่กระจายในแนวดิ่งที่แตกต่างกัน โดยที่บริเวณด้านล่างของหินจะพบการแพร่กระจายของ Clithon oualaniensis, Nerita sp. ส่วน Thais sp. Planaxis sulcatus และ Littoraria sp.1 พบการแพร่กระจายในช่วงกว้างตั้งแต่ด้านล่างจนถึงส่วนบนของหินส่วน Littoraria sp.2 และ Nodilittorina trochoides พบการกระจายบริเวณด้านบนของหิน นอกจากนั้นขนาดของก้อนหินและช่วงเวลายังส่งผลต่อความชุกชุมและรูปแบบการแพร่กระจายในแนวดิ่งของหอยฝาเดียว en_US
dc.description.abstractalternative Intertidal rocky shores are extreme environments due to changes of environmental factors during tides. Rocky organisms have to expose with thermal stress and desiccation during low tide. These stresses could affect to vertical distribution and microhabitats of rocky organisms. This study aims to investigate the vertical distribution, abundance and morphometrics of rocky gastropods in Laem Tan, Chonburi province during the northeast monsoon at night (January 2019) and at noon (February 2019). The vertical distribution and abundance of rocky gastropods were examined by using a 20x20 cm² quadrat on large and small size of rock. Gastropod specimens were identified into genus in the laboratory. The results found 7 species of gastropods including Clithon oualaniensis, Thais sp., Planaxis sulcatus, Littoraria sp.1, Littoraria sp.2, Nodilittorina trochoides and Nerita sp. Each gastropods showed differences of their vertical distribution and abundance due to rock height. Clithon oualaniensis and Thais sp. were founded in low zone rock. Planaxis sulcatus and Littoraria sp.1 were founded in wider range than others. Littoraria sp.2 and Nodilittorina trochoides were founded in high zone of rock. Moreover, both size of rocks and time period also influenced on the vertical distribution and abundance of rocky gastropods. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การแพร่กระจายในแนวดิ่ง ความชุกชุม และลักษณะทางสัณฐานของหอยฝาเดียวในหาดหินบริเวณแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี en_US
dc.title.alternative Vertical distribution, abundance and biometrics of rocky gastropods in Laem Tan, Chonburi province en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Supanut.P@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record