Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุรภาพจิตและปัญหาการปรับตัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคการสิกษาปลาย ปีการศึกษา 2544 ทุกคน จำนวนทั้งสิ้น 514 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Product of Moment Coefficient, Unpair t-test, One-way ANOVA และ multi linear regression ผลการศึกษาพบว่า นิสิต1ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2544 มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตโดยรวมและโดยแยกแต่ละด้านแล้วอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาน้อยที่สุด ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต มี 4 ตัวแปรคือ (1) การจบจากโรงเรียนเอกเพศ มีผลต่อการลดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้านการดูแลตนเองโดยทั่วไปและการดูแลตนเองโดยรวม (2) การเรียนในชั้นปีที่สูงขึ้นมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยทั่วไปแต่ลดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการพัฒนาการรู้จักตนเอง (3) การมีรายได้ส่วนตัวมากมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการเผชิญปัญหาและด้านการพัฒนาและดำรงระบบสนับสนุนทางสังคม (4) เพศหญิงมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สำหรับปัญหาการปรับตัวพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยปัญหาการปรับตัวด้านลังคม ด้านสุขภาพและด้านการเงินและที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยมีผลต่อปัญหาการปรับตัว มี 5 ตัวแปรคือ (1) การเรียนในชั้นปีที่สูงขึ้นมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านอารมณ์และการปรับตัวโดยรวม (2) เพศหญิงมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านหลักสูตรและการสอน ด้านสังคม และด้านการเงินและที่อยู่อาศัย (3) การมีรายได้ส่วนตัวมากมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านอารมณ์และด้านสังคม (4) การเข้ามาเรียนในคณะแพทยศาสตร์โดยไม่ได้สอบผ่านทบวงมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านอารมณ์ (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านหลักสูตรและการสอน เมื่อนำพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตมาหาความสัมพันธ์กับปัญหาการปรับตัว พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางลบ