Abstract:
ที่มาและเหตุผล : ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) นับว่าเป็นปัญหาทางสุขภาพที่สำคัญระดับหนึ่งของประเทศ เนื่องจากจะมีผลต่อการเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของอุบัติการการเกิดกระดูกหัก โดยกระดูกพรุนนั้น 75% มาจากปัจจัยทางพันธุกรรม และพบความสัมพันธ์ระหว่างไวตามินดี รีเซบเตอร์ ยีน โพลี มอฟิซึมกับความหนาแน่นของมวลกระดูกโดย genotype ที่เป็น BB นั้นจะมีค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกตํ่ากว่าผู้ป่วยที่มี genotype แบบอื่น ซึ่งในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ในผู้ชาย วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอัตราส่วนของความเสี่ยงของการเกิดภาวะกระดูกพรุนในชายไทยวัยสูงอายุที่มี vitamin D receptor gene polymorphism ที่แตกต่างกันและศึกษาถึงการกระจายของ vitamin D receptor gene polymorphism รวมทั้งความชุกของการเกิดภาวะกระดูกพรุนในชายไทยวัยสูงอายุ วิธีการศึกษา : ผู้ชายไทยอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทำการเจาะเลือดและหา ค่าไวตามินดีรีเซบเตอร์ยีน โพลีมอฟิซึม genotyping โดยใช้ขบวนการ PCR โดย Bsm I polymorphism ต่อจากนั้นนำผู้ป่วยไปวัดค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก ที่ femoral neck และ lumbar spine (L2- L4) ผลการศึกษา : พบว่าในผู้เข้ารับการวิจัยทั้งหมด 98 คน genotype ที่พบมากที่สุดคือ bb ซึ่งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้ 81.6% รองลงมาคือ Bb เท่ากับ 15.3 % และ BB พบน้อยที่สุดคือ 3.1 %โดยผู้ที่มี genotype ที่มี B เป็นองค์ประกอบจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความหนาแน่นของมวลกระดูกผิดปกติที่บริเวณกระดูกลันหลังและกระดูกสะโพกเป็น 1.4 และ 0.83 เท่าของผู้ที่มี genotype ที่ไม่มี B เป็นองค์ประกอบ ตามลำดับ และพบว่าค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของมวลกระดูกในแต่ละ genotype ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษา : ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างค่าเฉลี่ยของความหนาแน่นของมวลกระดูกในแต่ละ genotype