dc.contributor.advisor |
พิชญาภรณ์ มูลศิลป์ |
|
dc.contributor.author |
ฉันทนา นาคฉัตรีย์ |
|
dc.contributor.other |
ฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2020-04-24T05:58:58Z |
|
dc.date.available |
2020-04-24T05:58:58Z |
|
dc.date.issued |
2546 |
|
dc.identifier.isbn |
9741758057 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65506 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
en_US |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพี่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งประกอบด้วย ความจุปอด ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคม และเพี่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ซึ่งประกอบ ความจุปอด ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มที่ได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางลังคมกับกลุ่มที่ออกกำลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีประวัติเข้ารับการรักษาที่แผนกอายุรกรรม จำนวน 30 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีจับคู่เข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องมือทดสอบสมรรถภาพทางกายและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจในชีวิต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สมรรถภาพทางกายและความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สมรรถภาพทางกายด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและความจุปอด ของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคมสูงกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมรรถภาพทางกายด้านความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการทรงตัวมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มที่ได้รับการใช้โปรแกรนการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคมสูงกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกายและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this quasi-experimental design were to compare physical performance and life satisfaction of the elderly with cerebrovascular disease before and after received exercise program combined with social activity and to compare physical performance and life satisfaction of the elderly with cerebrovascular disease between the group received exercise program combined with social activity and the group received regular exercise and social activity. The sample were 30 cerebrovascular elderly patients who received care at Medicine Department, selected by match pairs in one experimental group and one control group. The research instrument was exercise program combined with social activity. The instruments for collecting data were physical performance measuring and life satisfaction questionnair which were content validated and tested for reliability at .75. The data were analyzed by mean.stardard deviation, and t-test. The major findings were as follows: 1. The physical performance and life satisfaction of the elderly with cerebrovascular disease after received exercise program combined with social activity were higher than before received exercise program combined with social activity at a significant level of .05. 2. The physical performance consisted of muscular strength and vital capacity of the elderly with cerebrovascular disease received exercise program combined with social activity were higher than those who received regular exercise and social activity significant level of .05. There were no significant difference of muscular flexibility and balancing. 3. Life satisfaction of the elderly with cerebrovascular disease received exercise program combined with social activity was highter than those who received regular exercise and social activity significant level of .05. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
โรคหลอดเลือดสมอง |
en_US |
dc.subject |
ผู้สูงอายุ |
en_US |
dc.subject |
การออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ |
en_US |
dc.subject |
Cerebrovascular disease |
en_US |
dc.subject |
Older people |
en_US |
dc.subject |
Exercise for older people |
en_US |
dc.title |
ผลของการใช้โปรแกรมการออกกำลังกายร่วมกับกิจกรรมทางสังคมต่อสมรรถภาพทางกาย และความพึงพอใจในชีวิตของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง |
en_US |
dc.title.alternative |
Effects of using exercise program combined with social activity on the physical performance and life satisfaction of the elderly with cerebrovascular disease |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
พยาบาลศาสตร์ |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Pichayaporn.M@Chula.ac.th |
|