Abstract:
ความเป็นมา แนวโน้มสถานการณ์ทางสังคมปัจจุบันมีนักเรียน นักศึกษามักใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหาทั้งต่อตนเองและการทำร้ายผู้อื่นสูงขึ้น จัดเป็นปัญหาสังคมที่จะส่งผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนมัธยมศึกษาและความคิดเห็นในการให้ความสำคัญและการปฏิบัติต่อการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนมัธยมศึกษาเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัย การศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มประชากรศึกษา ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปีการศึกษา 2546 จำนวน 220 โรงเรียน จำนวนครู 19,691 คน กลุ่มตัวอย่าง ครูโรงเรียนมัธยมศึกษาจำนวน 43โรงเรียน 645 คน ตอบกลับ 505 คน คิดเป็นอัตราตอบกลับ 78.3% เครื่องมือในการวิจัย แบบสอบถามชนิดตอบด้วยตนเอง การรวบรวมข้อมูล เดือนธันวาคม 2546-กุมภาพันธ์ 2547 สถิตที่ใช้ Mann-Whitney U Test, Wilcoxon Signed Rank Test, Kruskal-Wallis Test ผลการศึกษา ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.0 อายุเฉลี่ย 45.6 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 78.6 ปัจจุบันดำรงตำแหน่งครูที่ปรึกษา ร้อยละ 73.9 เคยได้รับการอบรมในเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันความ รุนแรงในโรงเรียนร้อยละ 27.0 ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ความรุนแรงในโรงเรียนในปี 2546 พบว่าโรงเรียนร้อยละ 81.1 มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ทะเลาะวิวาทร้อยละ 98.0 ทำร้ายตนเองร้อยละ 2.0 สำหรับเหตุการณ์ ทะเลาะวิวาทเป็นเหตุการณ์รุนแรงน้อยร้อยละ 79.4 และรุนแรงมากร้อยละ 4.0 แต่ไม่มีรุนแรงถึงเสียชีวิต สถานที่พบมากที่สุดคือบริเวณอาคารเรียน ส่วนใหญ่เกิดช่วงหลังเลิกเรียน สาเหตุจากปัญหาความไม่เข้าใจกันมากที่สุด สำหรับผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นต่อความสำคัญและการปฏิบัติพบว่าครูกว่าร้อยละ 75 ให้ความสำคัญ 3 อันดับแรกคือ มีการคัดกรองและดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยง มีบัตรประจำตัวนักเรียนทุกคน กำหนดนโยบายไม่ให้นักเรียนพกพา อาวุธ ครูกว่าร้อยละ 50 ให้คะแนนสูงถึงสูงมากต่อความสำคัญของกิจกรรมรายข้อถึง 38 ข้อจาก 40 ข้อและยังพบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นการให้ความสำคัญสูงกว่าการปฏิบัติทุกด้าน เมื่อทดสอบความแตกต่างพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มครูที่เคยได้รับการอบรมมีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญและการปฏิบัติสูงกว่ากลุ่มครูที่ไม่เคยอบรมทั้งในภาพรวมและทุกด้าน และมีความแตกต่างของความคิดเห็นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนด้านปัจจัยส่วนบุคคลและลักษณะโรงเรียน พบว่า เพศ ตำแหน่ง ระดับชันที่สอน ประเภทของโรงเรียนที่แตกต่างคัน การปฏิบัติต่อการป้องกันปัญหาความรุนแรงในโรงเรียนในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<,05) สรุป จากการศึกษานี้พบว่าควรมีการดำเนินการป้องกันความรุนแรงในโรงเรียนอย่างจริงจังต่อเนื่อง มาตรการต่าง ๆ ที่ครูส่วนใหญ่ให้ความสำคัญสูงควรนำไปสู่การจัดทำเกณฑ์การปฏิบัติงาน มาตรการใดที่ปฏิบัติน้อย อาทิ ด้านการประเมินผลดำเนินงาน ควรพัฒนาให้มีการดำเนินการให้ครอบคลุมต่อไป เพื่อให้นักเรียนมีความปลอดภัยและลดสถานการณ์รุนแรงให้มากที่สุด