DSpace Repository

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเลซิทินผสมที่มีสัดส่วนของฟอสโฟลิปิดและกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดต่างตามที่กำหนดโดยใช้ผลผลิตทางการประมงและการเกษตรในประเทศเป็นแหล่งวัตถุดิบ : การตรวจสอบความปลอดภัยของเลซิตินที่ผลิตขึ้นได้และการศึกษาผลที่มีต่อเมเทบอลิซึมของไลโปโปรตีนในสัตว์ทดลอง : รายงานโครงการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author วินัย ดะห์ลัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสหเวชศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-04-08T09:55:33Z
dc.date.available 2008-04-08T09:55:33Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6555
dc.description ผู้ประสานงานวิจัย : วนิดา นพพรพันธุ์ ; ผู้ร่วมงานวิจัย : สถาพร งามอุโฆษ , จุลจิตร องค์ปรีชากุล , จงจิตร อังคทะวานิช , ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ , ระวีนันท์ สิทธิวิเชียรวงศ์ en
dc.description.abstract ปัจจุบันมีการผลิตเลซิทินในเชิงอุตสาหกรรมโดยใช้ถั่วเหลืองเป็นวัตถุดิบเพื่อเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ รายงานวิจัยจำนวนไม่น้อยสนับสนุนการใช้เลซิทินเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นปัญหาด้านสุขภาพสำคัญของสังคมไทย อย่างไรก็ตามมีข้อมูลบ่งชี้ว่าสมดุลของกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกลุ่ม โอเมก้า 3 และ 6 เป็นปัจจัยหนึ่งของการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด เลซิทินจากถั่วเหลืองที่นิยมใช้กันอยู่แม้มีกรดไขมันโอเมก้า 6 และโอเมก้า 3 แต่ขาดกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญอยู่ หากสามารถหาเลซิทินจากวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ ที่มีสัดส่วนของกรดไขมันต่างๆ กันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดที่ถั่วเหลือง ขาดอยู่ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ งานวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาผลของเลซิทินจากปลาทะเล (LE-FM) ถั่วเหลือง (LE-SB) และเลซิทินผสมที่ได้จากการใช้เลซิทินสองชนิดผสมกันในสัดส่วน 1:1 และ 1:2 (LE-FS 1:1, LE-FS 1:2) ต่อไลโปโปรตีนและกรดไขมันในพลาสมาของหนูทดลอง ซึ่ง LE-FM มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงชนิดโอเมก้า 3 ได้แก่ C20:5n-3 และ C22:6n-3 สูงกว่า LE-SB ที่ใช้ทั่วไปทางการค้า และมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 6 ได้แก่ C18:2n-6 และ C20:4n-6 ต่ำกว่า LE-SB จากการศึกษาองค์ประกอบของเลซิทินพบว่า LE-FM และ LE-SB มีปริมาณ phosphatidylcholine (PC) 47.3% และ 36.2%; phosphatidylinositol (PI) 17.9% และ 46.3%; sphingomyelin (SM) 22.9% และ 0% กรดไขมัน C18:2n-6 1.06% และ 54.83%; C18:3n-3 0.37% และ 4.93%; C20:5n-3 5.2% และ 0%; C22:6n-3, 21.11% และ 0% ตามลำดับ ภายหลังการเสริมเลซิทินในสัตว์ทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่าไขมันในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง แต่สัดส่วนของ VLDL-TG/HDL-TG ของหนูกลุ่ม LE-FM และ LE-SB ลดลง (p<0.05) แสดงถึงอัตราการไหลเวียนและเมแทบอลิซึมของ TG-rich lipoproteins ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ particles size ของ VLDL และ LDL ในหนูที่ได้รับเลซิทินทุกกลุ่มมีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p<0.05) รวมถึง particle size ของ HDL ด้วย ยกเว้น HDL particles ในกลุ่มที่ได้รับ LE-SB มีขนาดใหญ่ขึ้น (p<0.05) ความแตกต่างเช่นนี้อาจเป็นผลมาจากชนิดของฟอสโฟลิพิด ได้แก่ SM และ PI ในเลซิทินทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกัน ในกรณีการขนส่งกรดไขมันเพื่อแลกเปลี่ยนกับเซลล์ต่างๆในกระแสเลือด พบว่าสัดส่วนของ C20:5n-3 + C22:6n-3 /C18:2n-6 + C20:2n-6 ซึ่งเป็นกรดไขมันตั้งต้นในการสร้าง eicosanoids serie 2 และ serie 3 ในพลาสมาสูงขึ้นในกลุ่มที่ได้รับ LE-FM เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ LE-SB บ่งชี้ถึงฤทธิ์ของ LE-FM ในการป้องกันการเกิด thrombogenesis ที่สูงกว่า LE-SB สรุปว่าการเสริมเลซิทินส่งผลดีต่อเมแทบอลิซึมของ TG-rich lipoproteins การตรวจหาค่าสารเคมีในกระแสเลือดหนูหลังจากป้อนเลซิทินไปแล้ว 8 สัปดาห์ พบว่า ค่าHDL-cholesterol ของกลุ่มหนูที่ป้อนด้วย LE-SB and LE-FS 1:1 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) นอกจากนั้น ค่าCreatinine ของหนูที่ป้อนด้วย LE-FS 1:1 และ LE-FS 1:2 นั้นจะสูงกว่ากลุ่มหนูที่ป้อนด้วย LE-FM และ LE-SB (p< 0.05) แม้ว่าค่าของ liver function และค่าของ kidney functions อื่นๆ จะไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม (Tabel 3) เนื่องจากข้อมูลความปลอดภัยในสัตว์ทดลองให้ผลไม่ชัดเจน จึงยังไม่สามารถยืนยันความปลอดภัยในสัตว์ทดลองในระดับที่นำมาใช้ในมนุษย์ได้ จำเป็นต้องระงับโครงการการทดลองใช้เลซิทินในมนุษย์ไว้ก่อน en
dc.format.extent 1239719 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร en
dc.subject เลซิติน en
dc.subject ฟอสโฟลิปิด en
dc.subject กรดไขมันไม่อิ่มตัว en
dc.subject ไลโปโปรตีน en
dc.subject สัตว์ทดลอง -- การเผาผลาญ en
dc.title การพัฒนาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทเลซิทินผสมที่มีสัดส่วนของฟอสโฟลิปิดและกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดต่างตามที่กำหนดโดยใช้ผลผลิตทางการประมงและการเกษตรในประเทศเป็นแหล่งวัตถุดิบ : การตรวจสอบความปลอดภัยของเลซิตินที่ผลิตขึ้นได้และการศึกษาผลที่มีต่อเมเทบอลิซึมของไลโปโปรตีนในสัตว์ทดลอง : รายงานโครงการวิจัย en
dc.title.alternative The development of blended lecithin health food products with certain proportions of phospholipid subclasses and polyunsaturated fatty acid composition utilizing domestic fishery and agricultural products as sources of raw material : the safety evaluation of produced lecithins and study of their effects on lipoprotein metabolism in animal model en
dc.type Technical Report es
dc.email.author dwinai@netserv.ac.th, winaidahlan@yahoo.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record