DSpace Repository

การพัฒนาระบบถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แบบสแกนโดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับภาพชนิดซีไอเอสแบบแถว

Show simple item record

dc.contributor.advisor เดโช ทองอร่าม
dc.contributor.advisor สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
dc.contributor.author คมกฤส มะวิญธร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-29T03:58:43Z
dc.date.available 2020-04-29T03:58:43Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741749864
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65571
dc.description วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบถ่ายภาพด้วยรังสีเอกช์แบบสแกนโดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับภาพชนิดซีไอเอสสำหรับใช้เป็นระบบตรวจสอบหีบห่อพัสดุชนิดเคลื่อนย้ายได้ในการตรวจสอบพัสดุไปรษณีย์และบรรจุภัณฑ์ที่มีขนาดไม่เกิน 210 มิลลิเมตร x 297 มิลลิเมตร การพัฒนาแบ่งออกเป็นสี่ส่วนหลักได้แก่ แหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงแบบสวิตชิงสำหรับหลอดกำเนิดรังสีเอกซ์ทางทันตกรรมขนาด 65 กิโลโวลต์ 7.5 มิลลิแอมแปร์ เทคนิคการเคลือบสารเรองรังสีบนแผ่นกระจกเพื่อใช้เป็นแถบเรืองรังสีประกอบกับอุปกรณ์ตรวจจับภาพชนิดซีไอเอสแบบแถวในการแปลงสัญญาณภาพถ่ายรังสี ระบบสแกนหีบห่อพัสดุ ตลอดจนโปรแกรมควบคุมการสแกนและปรับปรุงคุณภาพของภาพบนไมโครคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่าแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาสูงสามารถจ่ายศักดาไฟฟ้าได้คงที่และสามารถเคลือบสารเรืองรังสีบนกระจกได้ง่ายและคงทน แต่จากการเปรียบเทียบความสว่างของแสงเรืองกับฉากเสรมความเข้มรังสี (Intensifying Screen) ที่ผลิตในเชิงพาณิชย์ยังให้ประสิทธิภาพด้อยกว่า 82% และ 81% สำหรับแผ่นเรืองรังสีชนิด ZnS และ Gd2O2S:Tb3+ ตามลำดับนอกจากนี้ระบบ สแกนภาพถ่ายรังสีเอกซ์ที่พัฒนาขึ้นมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก และให้ผลของภาพถ่ายรังสีที่ความคมชัดสูง อย่างไรก็ตามยังคงมีสัญญาณรบกวนบนพื้นภาพอันเป็นผลจากการทำอันตรกิริยาของรังสีเอกซ์กับอุปกรณ์ซีไอเอส
dc.description.abstractalternative The purpose of this thesis is to develop an X-ray image scanning system using line Contact Image Sensor (CIS) for use as a mobile X-ray parcel inspection system with the maximum size of a parcel of 210 mm x 297 mm. The development includes design and development of 4 main parts i.e., a high voltage switching power supply for supplying a 65 kV 7.5 mA dental X-ray tube, phosphor coating technique using as a fluorescent screen associated with a line CIS for X-ray image signal converting, prototype of image scanning system and digital image signal processing program on microcomputer for improving the obtained X-ray images. The results indicated that the high voltage power supply could generate satisfactory constant potential and X-ray phosphor was firmly coated on glass. The relative light yield were found to be about 82% and 81% less than commercial intensifying screens for ZnS and Gd2O2S:Tb3+ screens, respectively. Furthermore, the developed system has lightweight so it could be conveniently move. The obtained images had good quality, however, interference noise could be seen on the image background resulting from interactions between X-ray and CIS devices.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject รังสีเอกซ์ en_US
dc.subject อุปกรณ์ตรวจจับ en_US
dc.subject X-rays en_US
dc.subject Detectors en_US
dc.title การพัฒนาระบบถ่ายภาพด้วยรังสีเอกซ์แบบสแกนโดยใช้อุปกรณ์ตรวจจับภาพชนิดซีไอเอสแบบแถว en_US
dc.title.alternative Development of an x-ray image scanning system using line CIS detector en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิวเคลียร์เทคโนโลยี en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Decho.T@Chula.ac.th,Decho.T@chula.ac.th
dc.email.advisor Suvit.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record