Abstract:
ในการวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเริ่มด้วยการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดขนาดตัวอย่าง และส่วนที่สองคือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของผู้สอบบัญชีกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการกำหนดขนาดตัวอย่างในการปฏิบัติงานสอบบัญชี สำหรับการวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยทั้งทางเอกสาร การสัมภาษณ์และการส่งแบบสอบถาม ส่วนวิธีทางสถิติที่ใช้ไนการวิเคราะห์ได้แก่วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และสถิติไคสแควร์ ซึ่งผลของการวิจัยพบว่า ในการวางแผนเกี่ยวกับหจักฐานการสอบบัญชี ผู้สอบบัญชีจะบริหารความเสี่ยงโดยการนำหลักการในเรื่อง audit risk model มาใช้ ซึ่งความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความเสี่ยงจากการตรวจสอบที่ได้ วางแผนไว้ และความเสี่ยงที่ยอมรับได้จะมีผลในทางตรงกันข้ามกับหลักฐานการตรวจสอบที่ใด้วางแผนไว้ดังนั้นขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการตรวจสอบเนื้อหาสาระจะมีผลกระทบจากความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ความเสี่ยงสืบเนื่องและ ความเสี่ยงจากการควบคุม มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงเหล่านี้ได้แก่ การเป็นลูกค้าใหม่-เก่า การเป็นหรือไม่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ค่าสอบบัญชี ข้อผิดพลาดที่ตรวจพบในงวดบัญชีก่อน การ เปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชีและระบบบัญชีรวมถึงผู้บริหาร ปริมาณรายการ การจัดกลุ่มของประชากร การเปลี่ยนแปลงของอัตราส่วนทางการเงิน และการใช้โปรแกรมในการสอบบัญชี จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 95 ของผู้สอบบัญชีในกลุ่ม Big 4 ได้ใช้ปัจจัยต่อไปนี้พิจารณากำหนดขนาดตัวอย่าง: ความเสี่ยงสืบเนื่อง ความเสี่ยงจากการควบคุม ความเชื่อมั่นที่ผู้สอบบัญชีต้องการในระบบบัญชีและระบบ การควบคุมภายใน และจำนวนหน่วยตัวอย่างในประชากร จากการศึกษาพบว่า ร้อยละ 90 ของ ผู้สอบบัญชีในกลุ่ม Non Big 4 ใช้ปัจจัย ข้อผิดพลาดรวมทั้งรายการปรับปรุงในงวดบัญชีก่อน และร้อยละ 85 ใช้ปัจจัยต่อไปนี้ในการกำหนดขนาดตัวอย่าง : ความเสี่ยงสืบเนื่อง ความ เสี่ยงจากการควบคุม และจำนวนหน่วยตัวอย่างในประชากร ปัจจัยที่ผู้สอบบัญชีทั้งสองกลุ่มใช้ต่างกันได้แก่ อัตราการเบี่ยงเบนจากวิธีการควบคุมที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้ อัตราการเบี่ยงเบนจากวิธีการควบคุมซึ่งผู้สอบบัญชีคาดว่าจะพบในประชากรที่ตรวจสอบ ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีจะสรุปได้ว่าความเสี่ยงจากการควบคุมอยู่ในระดับตํ่ากว่าที่เป็นอยู่จริง และความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีจะสรุปว่าไม่มีข้อผิดพลาดที่เป็นสาระสำคัญแต่ใข้อเท็จจริงมีข้อผิดพลาดที่เป็นสาระสำคัญ ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ได้แก่ สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี ควรจัดให้มีการสัมมนาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดขนาดตัวอย่างและการอบรมเพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถกำหนดจำนวนหลักฐาน ที่ผู้สอบบัญชีควรรวบรวมในแต่ละสถานการณ์