DSpace Repository

พลวัตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา (ปี 1989-2001)

Show simple item record

dc.contributor.advisor ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์
dc.contributor.author นุชจรี เสน่หา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-04-29T06:54:55Z
dc.date.available 2020-04-29T06:54:55Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741744552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65591
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การเปลี่ยนแปลงของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1989-2001 ได้ถูกกำหนดโดยปัจจัยหลักที่สำคัญคือ ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากความสัมพันธ์ที่มีลักษณะของการครอบงำจากสหรัฐอเมริกาน้อย ไปสู่ความสัมพันธ์ที่อยู่ในลักษณะที่ต้องการพึ่งพาสหรัฐอเมริกามากขึ้น อันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 1997 จวบจนกระทั่งเมื่อ รัฐบาล และ IMF ประสบความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้กระทำให้เกิดพลังชาตินิยมที่ต้องการพึ่งพาตนเอง และภูมิภาคเอเชียมากขึ้น และได้กลายเป็นแนวคิดหลักทางนโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร อย่างไรก็ตามเหตุวินาศกรรม 9/11 ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญที่กระทำให้ปัจจัยด้านความมั่นคงมีความสำคัญมากขึ้น อีกทั้งเป็นเหตุให้ไทยมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกามากขึ้นด้วย ทั้งนี้ผ่านการให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนสหรัฐอเมริกาในการต่อด้านการก่อการร้าย จากสภาพความสัมพันธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปดังที่ได้กล่าวในข้างต้นนั้นมีความน่าสนใจมาก เพราะรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในช่วงภายหลังสงครามเย็นนั้นได้เปลี่ยนจากพันธมิตรด้านความมั่นคงไปเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ ใกล้เคียงกัน อีกทั้งในช่วงเวลานั้นไทยกลายเป็นประเทศที่เจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจสูงสุด จนได้รับการขนานนามว่า The Fifth Tiger ซึ่งแนวทางดังกล่าว กำลังสวนทางกับประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เพราะสหรัฐอเมริกากำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจ ภายในประเทศ ดังนั้น ในเวลานี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาจึงอยู่ในสภาพที่ห่างเหินกันมากขึ้น เนื่องจากไทยมีความต้องการที่จะพึ่งพาตนเอง และมีปรารถนาที่จะเป็นประเทศศูนย์กลางทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาคมากขึ้น อีกทั้งในช่วงเวลานี้ ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาก็ทวีขึ้น อันเนื่องมาจากลัทธิกีดกันทางการค้าที่สหรัฐอเมริกาใช้กับไทยด้วยเพราะฉะนั้น รัฐบาลไทยจึงได้ปรับความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา จากที่ต้องการพึ่งพาตนเองมากขึ้น กลายเป็นความต้องการที่จะพึ่งพาสหรัฐอเมริกามากขึ้นผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ดีเนื่องจากการใช้นโยบายแก้ไขเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้เป็นเหตุให้สภาพเศรษฐกิจเกิดการหดตัวอย่างรุนแรง นำมาซึ่งปัญหาทางสังคม และเศรษฐกิจมากมาย ในช่วงเวลานี้ ประชาชนแสดงความไม่พอใจในการบริหารงานของรัฐบาล รวมถึงสหรัฐอเมริกา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศอย่างมาก เพราะมองว่าบุคคลเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล่มสลายของเศรษฐกิจตน ดังนั้น ไม่เพียงแต่พวกเขาจะทำการขับไล่บุคคลเหล่า นี้ แต่พวกเขาได้พยายามที่จะแสวงหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจใหม่ด้วย เพราะฉะนั้น เมื่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ได้เสนอนโยบายเชิงประชานิยม ที่เน้นการพึ่งพาตนเอง และภูมิภาคเอเชียมากขึ้น จึง เป็นผลให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย รับชัยชนะเหนือการเลือกตั้ง อันเป็นจุดเริ่มด้นของการปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศอีกครั้ง นั้นคือ การเน้นพึ่งพาตนเอง และให้ความสำคัญกับนโยบายภูมิภาคนิยมมากกว่าความต้องการที่พึ่งพาสหรัฐอเมริกา และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามเหตุวินาศกรรม 9/11 ได้กลายเป็นอุบัติเหตุครั้งสำคัญที่กระทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกามีการปรับเปลี่ยนให้ใกล้ชิดกันมากขึ้นอีกครั้งผ่านการส่งเสริม และสนับสนุนกันและกันในการต่อต้านการก่อการร้าย
dc.description.abstractalternative The change in economic relationship between Thailand and the US since 1989 to 2001 has been regulated by significant factor which is the economic factor. It has developed from low to high dependent on the US due to economic crisis in 1997. Since the government and the International Monetary Funds (IMF) have failed to solve economic problems, the need to be self-dependent and Asia region-dependence has emerged as a result of nationalism power. This became the main concept of the current government’s economic and foreign affairs policies, which are under the charge of the Prime Minister Thaksin Shinawatra. However, the September 11 incident has made security factor become more important. It also caused Thailand to have closer relationship with the US, since Thailand needed to cooperate with by promoting and supporting the US to resist the terrorists attack. From the mentioned above, The study of Thai and the US relations are instructive because the pattern of the relations have been changed from security alliance to equal economic partnership. Moreover, Thailand has become the fastest growth country in national economy and named ‘The Fifth Tiger”. This pattern is in contrast with the US because at that time the US was encountering domestic economic problems. So, the relationship between Thailand and the US are shaken. While the US has been using more strict and unfair economic policy, Thailand was seeking the ways to rely on itself and achieving the leader in the Golden Cape region. However, in 1997 Thailand faced a severe economic crisis and led to the changing of policy. From the leader in the region Thailand needed to adjusteconomic relations with the US in for the financial helps and supports, Thailand had borrowed money from IMF. But the economy become still worsened because the structure of IMF itself make the domestic economy corrupted. At that period, most of Thai people did not satisfy with the management of Thai government and blamed both the US and IMF. They thought these people brought the economy to an end. Consequently, they sought the way to exile them and in the same time tried to recover the nation’s economy. Fortunately, Thaksin Shinnawatra, the head of Thai Rak Thai Party represented the populism policy which emphasized on relying on itself and the region. These made Thaksin win the election overwhelmingly and changed the relation policy with the US which concentrated about relying more on itself and the region that the US and IMF. However, the September, 11 crisis brought about the new dimension of the relations with the US that is Thailand has closer relationship with the US by promoting and supporting the US to resist the terrorists attack.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ไทย -- ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับต่างประเทศ -- สหรัฐอเมริกา en_US
dc.subject Thailand -- Foreign economic relations -- United States en_US
dc.title พลวัตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา (ปี 1989-2001) en_US
dc.title.alternative Dynamics of Thai - US economic relations (1989-2001) en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Thitinan.P@Chula.ac.th,pongsudhirak@hotmail.com


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record