Abstract:
กระแสโลกาภิวัฒน์ได้หลั่งไหลเข้ามาและส่งผลกระทบต่อแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม รวมทังการเปิดเสรีการค้าตามข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services : GATS) อันเป็นข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ส่งผลให้สถาปนิกไทยสามารถแข่งขันรับงานออกแบบในต่างประเทศได้อย่างถูกกฎหมาย และสถาปนิกต่างชาติสามารถเข้ามาแข่งขันให้บริการงานสถาปัตยกรรมภายในประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายเช่นกัน ดังนั้นควรมีการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมให้สถาปนิกไทยสามารถแข่งขันกับสถาปนิกต่างชาติในการรับงานออกแบบต่างประเทศ เนื่องจากสถาปนิกไทยยังขาดแนวทางในการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการซึ่งเป็นที่ยอมรับของสากล ซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบในการแข่งขันกับสถาปนิกต่างชาติ การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการในการรับงานออกแบบต่างประเทศชองสถาปนิกไทย มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษา ข้อดี ข้อเสีย รวมทั้งหาแนวทางและปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพ และการบริการในการรับงานออกแบบต่างประเทศของสถาปนิกไทย และแนวทางการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการ โดยอาศัยข้อมูลปฐมภูมิจาก การสัมภาษณ์สถาปนิกที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติวิชาชีพและบริการออกแบบสถาปัตยกรรมในต่างประเทศซึ่งมีจำนวนจำกัด จึงเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sample) โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1).กลุ่มมีประสบการณ์มาก คือมากกว่า 10 ปี หรือมากกว่า 10 โครงการ 2).กลุ่มมีประสบการณ์ปานกลาง คือ 5-9 ปีหรือ 5-9 โครงการ 3).กลุ่มมีประสบการณ์น้อยคือ 1-4 ปีหรือ 1-4โครงการ 4). กลุ่มไม่มีประสบการณ์ในต่างประเทศและข้อมูลทุติยภูมิจาก เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมและการให้บริการงานออกแบบของประเทศไทยและสากล จากการศึกษาพบว่า ข้อดีของการรับงานออกแบบต่างประเทศ คือ ช่วยสร้างประสบการณ์และพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการเพื่อเตรียมรับมือกับการเปิดการค้าเสรี ส่งเสริมภาพพจน์ความน่าเชื่อถือทั้งลูกค้าในประเทศและระดับสากล และการทำงานอย่างต่อเนื่องให้ผลตอบแทนสูงกว่างานในประเทศ โดยมีปัญหาการขาดบุคลากรที่มีความเข้าใจด้านภาษาและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพที่เป็นสากล และมีความเสี่ยงสูงสำหรับสำนักงานที่มีประสบการณ์น้อย โดยมีความแตกต่างกันของปัจจัยด้านธุรกิจและการ บริการออกแบบมากกว่าปัจจัยในการปฏิบัติวิชาชีพและการออกแบบ ซึ่งจะส่งผลต่อความสำเร็จในการรับงานออกแบบต่างประเทศ
โดยแนวทางในการรับงานออกแบบต่างประเทศเพี่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นควรเริ่มจากการร่วมไปกับผู้ลงทุนชาวไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ หรือร่วมทีมประมูลกับวิศวกรและผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ในงานต่างประเทศ หลังจากนั้นควรพัฒนาแนวทางการตลาด สร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับต่างชาติ สร้างภาพลักษณ์เฉพาะของสำนักงาน ซึ่งในปัจจุบันนั้นการออกแบบอาคารพักอาศัยโรงแรมพักตากอากาศ เป็นจุดแข็งของสถาปนิกไทย พร้อมกับพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดทำเงื่อนไขสัญญา การคิดค่าบริการออกแบบ ค่าใช้จ่ายและการเงินของโครงการ การจัดการระบบเอกสารและการสื่อสารระหว่างดำเนินงาน และกำหนดกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า เนื่องจากลูกค้างานต่างประเทศมี 2 กลุ่ม คือ 1) ลูกค้าที่ต้องการคุณภาพงานจากผู้ชำนาญหรือมีชื่อเสียงในการออกแบบงานประเภทนั้น ๆ 2) ลูกค้าต้องการประหยัดหรือควบคุมงบประมาณ เนื่องจากสถาปนิกไทยค่าบริการออกแบบนั้นค่อนข้างตํ่ากว่าประเทศอื่น ๆ เนื่องจากสถาปนิกไทยมีโอกาสสูงที่จะได้รับงานออกแบบต่างประเทศ ดังนั้นสถาปนิกไทยควรให้ความสำคัญในการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพและการบริการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการออกแบบ เพี่อสร้างโอกาสในตลาดสากล