Abstract:
ศึกษาการเคลื่อนที่ของมวลตะกอนที่นำมาทิ้ง ณ จุดทิ้งมูลตะกอน แต่ละเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ในบริเวณอ่าวไทยรูปตัวกอ พิกัดตำแหน่ง 13°21'17.8"N 100°42'27.9"E ที่ได้จาก การขุดลอกบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อดูแลและรักษาสภาพลำน้ำ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองอุทก พลศาสตร์ 3มิติและแบบจำลองการเคลื่อนตัวของตะกอนจาก Delft3d-FLOW และ Delft3d-PART แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ใช้องค์ประกอบน้ำขึ้นน้ำลง 8 ตัว ได้แก่ K1, Q1, O1, P1, M2, S2, K2, N2 เป็น แรงเคลื่อนที่ขอบเขตเปิดของแบบจำลอง ปรับเทียบค่าองค์ประกอบน้ำขึ้นน้ำลง โดยใช้ข้อมูลระดับน้ำของ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 จากสถานีตรวจวัดน้ำ บางปะกง แม่กลอง ป้อมพระจุลฯ และอ่าวอุดม ในส่วนของ แบบจำลองการเคลื่อนตัวของตะกอนได้ทำการแบ่งชั้นน้ำออกเป็น 5 ชั้น แบ่งเป็น 0, 1.83, 5.50, 9.16, 12.83 เมตรจากผิวน้ำ และทำการทิ้งตะกอนในชั้นที่ 3 ลักษณะตะกอนที่น้ำมาทิ้งมีเปอร์เซ็นต์ของทรายในดิน 5.2 % ทรายแป้ง 21.3% และดินเหนียว 73.5 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก พบว่าในเดือนธันวาคม ตะกอนมีการกระจายตัว มากที่สุดซึ่งเป็นผลมาจากทิศทางกระแสน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และอัตราการจมตัวเยอะที่สุดจะอยู่ ในช่วงฤดูฝน เพราะกระแสน้ำที่เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำขึ้นน้ำลงมีค่าน้อยทำให้แรงที่จะพัดพา ตะกอนขึ้นไปมวลน้ำชั้นบนมีน้อย