Abstract:
การศึกษาวางแผนพัฒนาพื้นที่สถานีรถไฟกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ มีเป้าหมายเพื่อต้องการศึกษาศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่รองรับการพัฒนาเป็นหัวลำโพง 2 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของสถานีรถไฟบางซื่อและพื้นที่โดยรอบในการรองรับการขยายตัว ของสถานีรถไฟบางซื่อใหม่ หรือหัวลำโพง 2 กรุงเทพมหานคร 2. เพื่อศึกษาศักยภาพบริเวณสถานีรถไฟบางซื่อและพื้นที่โดยรอบ ในการรองรับการพัฒนา ของสถานีรถไฟบางซื่อใหม่หรือหัวลำโพง 2 กรุงเทพมหานคร 3. เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ สถานีรถไฟบางซื่อ และพื้นที่โดยรอบ การศึกษาพื้นที่สถานีรถไฟบางซื่อและบริเวณโดยรอบ ครอบคลุมพื้นที่ 2,500 ไร่เศษ มีลักษณะเป็นพื้นที่โล่งการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นที่ตั้งระบบราง ที่ตั้งสถานี และพื้นที่ขนส่งสินค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพื้นที่โดยรอบ น้อย เนื่องจากมีคลองกันระหว่างพื้นที่สถานีรถไฟกับชุมชนโดยรอบ ประกอบกับระบบโครงข่ายคมนาคมและการเข้าถึงไม่เพียงพอ จึงไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ในปัจจุบัน ในการศึกษาพื้นที่ได้แบ่งออก 2 ส่วน ได้แก่ 1. พื้นที่ตั้งสถานีรถไฟ ตลอดจนเส้นทางรถไฟ ระบบโครงข่ายคมนาคมอื่น ๆ ที่เข้ามาสู่ตัวสถานี และ 2. พื้นที่รองรับการขยายตัวจากการเกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 ทั้งนี้ได้ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ 4 วิธี ได้แก่ 1. SWOT ANALYSIS โดยจุดแข็งในต้านกายภาพ คือ พื้นที่เป็นที่ตั้งโครงการศูนย์กลางระบบขนส่งกรุงเทพมหานครด้านเหนือ (Intermodal Station) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนส่งมวลชนระบบราง ส่วนโอกาสการพัฒนาเป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรของกรุงเทพมหานคร 2. LOCATION ANALYSIS เป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ตลาด ศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน แหล่งงาน และสวนสาธารณะ 3. SITE ANALYSIS ทำให้เห็นความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินในพื้นที่ตั้ง การเข้าถึง การขนส่ง การใช้ที่ดินของการรถไฟ เป็นต้น และ 4. SIEVE ANALYSIS พื้นที่รองรับกิจกรรมพาณิชย กรรมที่เหมาะสม ได้แก่ บริเวณพื้นที่ของสถานีรถไฟบางซื่อ ส่วนพื้นที่บริเวณย่านประชาชื่น เหมาะในการเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยเนื่องจากมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อม ดังนั้นพื้นที่นี้จึงมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 โดยที่ตั้งเป็นศูนย์รวมกิจกรรมต่าง ๆ ขนาดของพื้นที่เพียงพอ และเป็นที่ตั้งของระบบโครงข่ายคมนาคม มีแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟ เป็นการใช้ที่ดินแบบผสมผสาน (MIXED USE) โดยต้องขยายการบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการและการพัฒนาพื้นที่ริมนำบริเวณคลองเปรมประชากรและคลองบางซื่อ ให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น ตลอดจนเป็นแหล่งนันทนาการแก่ชุมชน ส่วนบริเวณที่ตั้งสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 กับระบบโครงข่ายคมนาคมอื่น ๆ จะต้องใช้พื้นที่รองรับประมาณ 400 ไร่ โดยจะพัฒนาระบบถนนเชื่อมระหว่าง ถนนกำแพงเพชร 2 กับถนนประชาชื่น ขยายผิวจราจรแนวเหนือ -ใต้ ถนนเทอดดำริเชื่อมกับถนนวงศ์สว่าง การเพิ่มจุดขึ้น - ลงในพื้นที่เชื่อมกับทางด่วนขั้นที่ 2 และพัฒนาเส้นทางเชื่อมบนดินระหว่าง สถานีรถไฟใต้ดินจตุจักรกับสถานีรถไฟฟ้าบางซื่อ ระบบการขนส่งเชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอกใช้ รถเมล์ ประเภทต่าง ๆ รถไฟฟ้า รถยนต์ สำหรับการขนส่งเชื่อมโยงในพื้นที่ใกล้เคียงจะใช้ การเดิน รถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ และรถยนต์ ซึ่งเมื่อเกิดสถานีรถไฟหัวลำโพง 2 จะส่งผลให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ เกิดการพัฒนาด้านพาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัย ตลอดจนคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น