Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าอัลคาลินิตี้และปริมาณแร่ธาตุหลักจำเป็น ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ที่ลูกกุ้งก้ามกรามระยะโพสลาร์วา 7 ดึงไปใช้ในการเจริญเติบโตในน้ำ ทดลองเลี้ยงความเค็ม 2 psu ตลอดการเลี้ยง 30 วัน เปรียบเทียบผลการเลี้ยงระหว่างชุดทดลอง ได้แก่ ชุด ควบคุม (น้ำเลี้ยงเจือจางจากนาเกลือ) ชุดการทดลอง 1 (น้ำเลี้ยงจากเกลือทะเลผง) และชุดการทดลอง 2 (น้ำ เลี้ยงจากเกลือทะเลผงที่มีการเสริมแร่ธาตุ) เก็บตัวอย่างน้ำเลี้ยงมากรองและวิเคราะห์แร่ธาตุหลักด้วยเทคนิค Inductively coupled plasma - optical emission spectrometry (ICP - OES) และค่าอัลคาลินิตี้ด้วย วิธี Gran potentiometric titration ค่าอัลคาลินิตี้ที่ตรวจวิเคราะห์อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงและมีค่าระหว่าง 105.0 –134.7 mg/L as CaCO₃ ขณะที่ในระหว่างวันที่ 12 – 30 ของการเลี้ยงปริมาณความเข้มข้นของแร่ธาตุหลัก ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมในชุดทดลอง มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยมีค่าระหว่าง 474.2 - 654.2, 43.0 – 59.4, 45.5 – 292.9 และ 78.9 – 156.6 mg/L ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่า สัดส่วน พบว่าคู่สัดส่วนระหว่างโซเดียมและโพแทสเซียมมีค่าลดลงในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 21 ของการ ทดลองเลี้ยง จากนั้นมีค่าค่อนข้างคงที่ ในขณะที่คู่สัดส่วนระหว่างแมกนีเซียมและแคลเซียมมีค่าค่อนข้างคงที่ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง หลังสิ้นสุดการทดลองปริมาณลูกกุ้งมีปริมาณน้อยจึงไม่ได้ทำการเปรียบเทียบอัตรา การรอดตายของลูกกุ้ง แต่สำหรับความยาวลำตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าลูกกุ้งที่เลี้ยงในน้ำเลี้ยง เจือจางจากนาเกลือ (ชุดควบคุม) มีความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด 1.81 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ชุด การทดลอง 1 และ 2 มีความยาวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.41 และ 1.39 เซนติเมตร ตามลำดับ กล่าวได้ว่าความยาว ที่เพิ่มขึ้นของลูกกุ้งก้ามกรามในชุดควบคุมมีค่ามากกว่าชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ทั้งนี้การเสริมแร่ธาตุหลักในน้ำทดลองเลี้ยงที่เตรียมจากเกลือทะเลผงมีความสำคัญเพื่อควบคุมค่าอัลคาลินิตี้ในน้ำเลี้ยงให้เหมาะสม แต่การเสริมปริมาณแร่ธาตุรองที่พบในน้ำทะเลเจือจางจากชุดควบคุมมีความจำเป็นต่อการเติบโตของลูกกุ้ง