Abstract:
โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี มีการจัดการปลูกต้นสัก และไม้วงศ์ยาง เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยต้นไม้ทั้ง 2 กลุ่ม มีผลต่อปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพหลายประการ ซึ่งอาจจะส่งผล กระทบต่อความหลากหลาย และความชุกชุมของมด มีบทบาทสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดในระบบนิเวศได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายทางชนิด และความชุกชุมของมดในพื้นที่แปลงปลูกสัก และแปลง ปลูกไม้วงศ์ยางภายในโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างมด 3 วิธีคือ การจับด้วยมือภายในเวลาที่กำหนด, การใช้กับดักหลุม และการร่อนดิน ทำการเก็บตัวอย่างมดเดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 - เดือนเมษายน 2562 ชนิดของมดทั้งหมดที่พบในพื้นที่ระหว่าง การศึกษามี 15 ชนิด โดยพบในแปลงปลูกสัก 14 ชนิด และในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง 11 ชนิด โดยมี 10 ชนิดที่พบ ได้ทั้ง 2 พื้นที่ จากจำนวนมดทั้งหมด 7,884 ตัว พบในแปลงปลูกสัก (109.27 ± 207.9 ตัว/ครั้ง) น้อยกว่าใน แปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (416.33 ± 1372.2 ตัว/ครั้ง) (t = 7.32, df = 5, P = 0.0007) โดยมดที่มีความชุกชุมมาก ที่สุดคือ มดง่าม Carebara diversa พบในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (921.00 ± 290.2 ตัว/ครั้ง) มากกว่าในแปลง ปลูกสัก (131.33 ± 185.7 ตัว/ครั้ง) (t = 6.86, df = 5, P = 0.001) และรองลงมา คือมดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes พบในแปลงปลูกสัก (67.67 ± 30.1 ตัว/ครั้ง) และในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (91.33 ± 38.3 ตัว/ครั้ง) จากการศึกษาความหลากหลายของมดพบว่า ในแปลงปลูกสักมีความหลากหลายมากกว่าแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง ซึ่งอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิอากาศในแปลงปลูกสักที่ต่ำกว่า (32.96 ± 4.4 °C) เมื่อเทียบกับแปลงปลูกไม้วงศ์ ยาง (35.63 ± 1.9 °C) แต่อุณหภูมิดินในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางที่ต่ำกว่า (28.84 ± 1.9 °C) เมื่อเทียบกับแปลง ปลูกสัก (30.94 ± 2.5 °C) (t = 7.36, df = 5, P = 0.0007) เนื่องจากการกวาดซากใบไม้ในแปลงปลูกสัก ความชุกชุมของมดพบในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางมากกว่าในแปลงปลูกสัก เนื่องจากจำนวนที่มากของมดง่ามที่อาจล่าสัตว์ ขาปล้องโดยเฉพาะปลวกในแปลงไม้วงศ์ยาง ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิดิน มีผลต่อ ความหลากหลาย และความชุกชุมของมดในพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้การจัดการพื้นที่ เช่น การจัดการซากใบไม้ เป็นต้น มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของมด โดยการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิผิวดิน