Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบาย กระบวนการก่อตัวของนโยบายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการกำหนดนโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องการเข้าสู่วาระนโยบายของคิงส์ดอน แนวคิดเรื่องการกำหนดนโยบายของมอสคา ไดร์ แวมสเล่ย์ และซาล และการวิเคราะห์ผลกระทบนโยบายของแกรมเป็นกรอบในการศึกษา นโยบายผู้สูงอายุที่ศึกษาในครั้งนี้ กำหนดขอบข่ายไว้ที่ แผน ระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2525-2544) นโยบายและมาตรการสำหรับผู้สูงอายุระยะยาว (พ.ศ. 2535-2554) แผนผู้'สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2545-2564) และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งในช่วง ดังกล่าว (ปี พ.ศ.2525-2546) สภาพการเมืองและการปกครองไทยเป็นแบบอำมาตยาธิปไตยและต่อมาพัฒนาไปเป็นการเมืองแบบประชาธิปไตย การวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางราชการ สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และการสัมภาษณ์ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องและมีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ชี้ว่า กระแสการเมือง กระแสนโยบาย และกระแสตัวปัญหา รวมทั้งผู้สร้างหรือผู้ผลักดัน นโยบายมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการเข้าสู่วาระนโยบาย นโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทย ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเมืองและการปกครองแบบอำมาดยาธิปไตย ถูกกำหนดโดยส่วนราชการตามตัวแบบผู้นำ เมื่อสภาพการเมือง และการปกครองเปลี่ยนแปลงมาสู่ประชาธิปไตย นโยบายผู้สูงอายุยังคงถูกกำหนดตามตัวแบบผู้น้าโดยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นตัวแบบผู้นำที่แปลงรูป เนื่องจากส่วนราชการใช้กลุ่มผลประโยชน์ทำหน้าที่เป็นองค์กรตัวแทนในการผลักตันนโยบายผู้สูงอายุ การกำหนดนโยบายตามตัวแบบผู้นำนี้ ทำให้โครงการของรัฐบาลไทยที่จัดสรรให้กับผู้สูงอายุจำกัดอยู่เฉพาะโครงการด้านรักษาพยาบาลและสถานสงเคราะห์ เนื่องจากส่วนราชการที่ผลักดันให้เกิด นโยบายเป็นส่วนราชการด้านสาธารณสุขและสังคมสงเคราะห์ ในขณะที่งบประมาณที่จัดสรรให้กับโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับผู้สูงอายุปรากฏให้เห็นไม่มากนัก การศึกษานโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทยนี้ นำมาสู่ข้อค้นพบเรื่องตัวแบบการเข้าสู่วาระนโยบายการก่อตัวของนโยบายและผลกระทบของนโยบายใน 3 ประการสำคัญ กล่าวคือ 1. ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเด็นดังกล่าวถูกองค์การระหว่างประเทศ ส่งผ่านและถ่ายทอดแนวคิดนโยบายมายังประเทศที่กำลังพัฒนา ผ่านการประชุมสัมมนาขององค์การระหว่างประเทศ จุดประกายความคิดให้เกิดขึ้นในหมู่ผู้นำประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ประเด็นเรื่องผู้สูงอายุเข้าสู่วาระนโยบายของรัฐบาลในประเทศที่กำลังพัฒนาได้ 2. การก่อตัวของนโยบายผู้สูงอายุของประเทศไทยเป็นไปตามตัวแบบผู้นำแปลงรูป ผ่านองค์กรตัวแทนกล่าวคือ ส่วนราชการ ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในนโยบาย ดำเนินการทางการการเมือง ผ่านกลุ่มผลประโยชน์ที่ตนเองจัดตั้งและให้เงินสนับสนุน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลไทยกำหนดนโยบายผู้สูงอายุ 3. ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อตัวของนโยบายผู้สูงอายุตามตัวแบบผู้นำแปลงรูป ทำให้การจัดสรรงบประมาณเพื่อผู้สูงอายุมุ่งเน้นไปที่โครงการต่าง ๆตามความสนใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ผลักดันเรียกร้องนโยบายจากรัฐบาล