Abstract:
ไดเอทิลสติลเบสทรอล (Diethylstilbestrol; DES) และเฮ็กโซเอสทรอล (Hexoestrol) เคยถูกนำมาใช้เป็นสารเร่งการเจริญ เติบโตในสัตว์ปีก แต่ปัจจุบันถูกห้ามใช้เนื่องจากฤทธิ์ในการก่อมะเร็งทั้งในมนุษย์และสัตว์ อย่างไรก็ดียังพบว่ามีการลักลอบนำมาใช้เป็น สารช่วยเร่งการเจริญเติบโตในสัตว์ปีกในบางพื้นที่ของหลายประเทศ จึงได้มีการพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังการตกค้างในเนื้อเยื่อและสิ่งคัดหลั่งจากสัตว์หลายเทคนิค แต่ยังไม่มีเทคนิคในการวิเคราะห์ใดที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิค ไฮเปอร์ฟอร์แมนซ์ลิควิดโครมาโทรกราฟพี่ (High Performance Liquid Chromatography; HPLC ) ในการตรวจวิเคราะห์การตกค้างของ DES และ Hexoestrol ในเนื้อไก่ โดยการทดลองที่ 1 เป็นการทดลองหาสภาวะของเครื่อง HPLC ด้วยสารละลายมาตรฐาน DES และ Hexoestrol จากการทดลองพบว่าการใช้ HPLC column ชนิด C18 ODS2 Spherisorb® (ขนาด 5 ไมครอน เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 .6 mm ยาว 250 mm ) เฟสเคลื่อนที่เป็น Methanol : Water (65 : 35) ความเร็วเฟสเคลื่อนที่เท่ากับ 1.5 มิลลิลิตรต่อนาที ใช้ Ultraviolet-Visible detector ที่ความยาวคลื่น 230 นาโนเมตร จะให้ Retention time ของ DES และ Hexoestrol ที่ 8.123 - 8.287 และ 9.206 - 9.396 นาที ตามลำดับ การทดลองที่ 2 เป็นการเก็บสารสังเคราะห์ที่มีการลักลอบใช้ในการเลี้ยงไก่ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย จำนวน 7 แหล่ง มาวิเคราะห์ด้วย HPLC เพื่อระบุชนิดและปริมาณของตัวยาจากการทดลองพบว่าทุกแหล่งมี Hexoestrol เป็นสารออกฤทธิ์ทั้งหมด และมี 6 จาก 7 แหล่งที่ปริมาณน้อยกว่าที่ระบุไว้ข้างขวด การทดลองที่ 3 เป็นการทดสอบประสิทธิภาพของการสกัดและวิธีวิเคราะห์การตกค้างของ Hexoestrol ในกล้ามเนื้อด้วย HPLC ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพของวิธีวิเคราะห์โดยการเติมสารละลายมาตรฐาน Hexoestrol ความเข้มข้น 4 ไมโครกรัมต่อมีลลิลิตร (พีพีเอ็ม) ลงในตัวอย่างกล้ามเนื้อไก่จากกลุ่มควบคุม พบว่ามีอัตราการคืนกลับของสารเป็น 81.02 - 87.75 เปอร์เซ็นต์จากนั้นทำการชำแหละไก่อายุ 38 วัน ที่ทำการฝังตัวยา Hexoestrol จากแหล่งที่ระบุความเข้มข้นเป็น 20 มbลลิกรัมต่อเม็ด พร้อมกลุ่มควบคุม ครั้งละ 12 ตัว (แบ่งเป็นไก่ตัวผู้ 6 ตัว และไก่ตัวเมีย 6 ตัว) เพื่อเก็บตัวอย่างกล้ามเนื้อหลังจากฝังยาวันที่ 14, 21, 28 และ 35 แล้วนำตัวอย่างกล้ามเนื้อมาวิเคราะห์หาปริมาณการตกค้าง และจากตัวอย่างกล้ามเนื้อไก่ทั้งหมด 144 ตัวอย่าง ตรวจพบการตกค้างในกล้ามเนื้อรวมทั้งสิ้น 3 ตัวอย่าง โดยมีระดับการตกค้างที่ตรวจพบเป็น 0.20 - 0.23 ไมโครกรัมต่อเนื้อไก่ประมาณ 5 กรัม โดยมี L im it o f D e te c tio n ที่ 0 .1 3 9 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร Limit of Quatitation ที่ 0.422 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จากผลการทดลองสรุป ได้ว่าวิธีวิเคราะห์ด้วย HPLC มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์การตกค้างที่ระดับความเข้มข้นสูง เช่น การวิเคราะห์จากตัวยาโดยตรง แต่การวิเคราะห์เพื่อหาระดับการตกค้างในเนื้อไก่จำเป็นต้องพัฒนาต่อไป