DSpace Repository

มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์

Show simple item record

dc.contributor.advisor สำเรียง เมฆเกรียงไกร
dc.contributor.author ปริศนา จิรวัฒนพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-05-08T07:54:23Z
dc.date.available 2020-05-08T07:54:23Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741746709
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65684
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract โดยหลักกฎหมาย สัญญาแฟรนไชล์เกิดขึ้นตามหลักเสรีภาพของการแสดงเจตนาของคู่สัญญา แต่เนื่องจากสถานะทางเศรษฐกิจและอำนาจการต่อรองที่ไม่เท่าเทียมกัน รวมทั้งสัญญาแฟรนไชส์ที่ใช้บังคับมักถูกกำหนดโดยผู้ให้สิทธิแต่เพียงฝ่ายเดียว จึงทำให้ผู้รับสิทธิถูกเอารัดเอาเปรียบจากข้อกำหนดหรือเงื่อนไขต่าง ๆ ในสัญญาประกอบกับการที่ผู้รับสิทธิเข้าทำสัญญา โดยไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับแฟรนไซส์ของผู้ให้สิทธิอย่างเพียงพอจึงทำให้ผู้รับสิทธิถูกหลอกลวงและเอารัดเอาเปรียบได้ง่าย จากการศึกษาพบว่า แม้ปัจจุบันการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์จะได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชนมากขึ้น แต่ยังไม่มีมาตรการหรือบทบัญญัติกฎหมายใด ๆ ที่มากำกับดูแลการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ ทั้งในเรื่องของข้อกำหนดหรือเงื่อนไขในสัญญา, การขายแฟรนไชส์หรือกฎเกณฑ์ที่กำหนดให้ผู้ให้สิทธิต้องเปิดเผยข้อมูลแฟรนไชส์ต่อผู้รับสิทธิหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ รวมถึงธุรกิจแฟรนไชส์มีข้อจำกัดของการปรันใช้กฎหมาย จึงได้เสนอแนะให้มีการออกมาตรการทางกฎหมาย โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้ให้สิทธิที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับแฟรนไชส์ที่สำคัญภายในระยะเวลาที่กำหนดต่อผู้รับสิทธิ เช่น ประวัติแฟรนไชส์, ประสบการณ์การดำเนินธุรกิจ, ฐานะทางการเงิน , สิทธิและหน้าที่ของผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิ, ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ฯลฯ เป็นต้น ก่อนการเข้าทำสัญญาแฟรนไชส์ นอกจากนั้นควรมีหน่วยงานของรัฐเข้ามากำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและป้องกันการหลอกลวงในการดำเนินธุรกิจและในการทำสัญญาระหว่างผู้ให้สิทธิและผู้รับสิทธิด้วย
dc.description.abstractalternative Under legal doctrine, a franchise contract is a contract done by the expression of wills of the parties. However, the unequal economic positions and bargaining power resulting in an adhesion contract written by the franchisor, the franchisee is often taken adventage through the terms or conditions of the said contract. On the top to that the franchisee tends to be short of the information on the franchisor's business. Therefore the franchisee is often frauded and easily taken into the franchise, and the nature of the franchising also sets a limit to the application of law. The finding indicates that even though the franchise business has received more support and subsidy from both government and private sectors, there is no specific regulation with respect to the franchise business to supervise franchise business operation. The author, therefore, purposes that a law should be passed to require the franchisor to send major information to the prospective franchisee within certain time limit namely franchise history, franchisor's business experience, franchisor's litigation and bankruptcy history, franchisor's financial information, franchisor and franchisee obligation, fees, etc. prior to the conclusion of the contract. A special government agency to look after franchise business should be set up to ensure fairness and present fraud in franchising between them.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject แฟรนไชส์ en_US
dc.subject แฟรนไชส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject Franchises ‪(Retail trade)‬ en_US
dc.subject Franchises ‪(Retail trade)‬ -- Law and legislation en_US
dc.title มาตรการทางกฎหมายในการกำกับดูแลธุรกิจแฟรนไชส์ en_US
dc.title.alternative Legal measures on supervision of franchise business en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Samrieng.M@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record