DSpace Repository

ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ที่ทำงานในอาคารสำนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
dc.contributor.author ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2020-05-08T07:59:10Z
dc.date.available 2020-05-08T07:59:10Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.issn 9741750323
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65685
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ที่ทำงานในอาคารสำนำงาน ในอาคารปรับอากาศของรัฐและรัฐวิสาหกิจจำนวน 5 อาคารในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวีสุ่มแบบกลุ่มในแต่ละอาคารและทำการเก้บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 โดยให้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,269 ฉบับ ซึ่งได้รับแบบสอบถามตอบกลับทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 85.11 ผลการศึกษาพบว่า ผู้ทำงานในอาคารสำนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่วัยกลางคน ในช่วง 40-49 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีลักษณะงานเป็นงานเลขานุการหรือสารบรรณ และมีระยะเวลาทำงานในอาคารน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ความชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารคิดเป็นร้อยละ 20.58 (ความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 = 20.55-20.61) โดยพบกลุ่มอาการทางตาคิดเป็นร้อยละ 9.96 (9.94-9.98) กลุ่มอาการทางจมูกคิดเป็นร้อยละ 6.67 (6.65-6.69) กลุ่มอาการทางระบบประสาทคิดเป็นร้อยละ 6.48 (6.47-6.49) กลุ่มอาการทางลำคอคิดเป็นร้อยละ 4.51 (4.50-4.52) กลุ่มอาการทางผิวหนังคิดเป็นร้อยละ 3.20 (3.19-3.21) และกลุ่มอาการทางเดินหายใจส่วนล่างคิดเป็นร้อยละ 1.22 (1.21-1.23) ตามลำดับ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศหญิง อายุน้อย การมีโรคประจำตัวหรือการเจ็บป่วย การใช้กระดาษก๊อบปี้ที่ไม่มีคาร์บอน การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นานมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีคะแนนรวมปัจจัยจิตสังคมในงานสูง การนั่งอยู่ใกล้กองเอกสารเครื่องถ่ายเอกสาร หรือพรินเตอร์ การพบน้ำรั่วหรือซึม และความไม่สะดวกสบายของโต๊ะหรือเก้าอี้ที่นั่งทำงานโดยผู้ที่ทำงานในอาคารสำนักงานที่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ จะมีโอกาสเกิดกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัยเหล่านี้จำนวน 2 เท่าขึ้นไป ผลกาศึกษาวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ที่ทำงานในภาคบริหารเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งอาการส่วนใหญ่ คือ อาการระคายเคืองต่อเยื่อบุ โดยปัญหานี้มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะปัจจัยด้านสถานที่ทำงาน แต่ยังรวมไปถึงปัจจัยบุคคลและปัจจัยด้านลักษณะการทำงานด้วย
dc.description.abstractalternative The purpose of this cross sectional descriptive study was to examine the prevalence and associated factors of sick building syndrome (SBS) among office workers in 5 air-conditioned government / state public buildings in Bangkok. Study subjects were selected by cluster random sampling from each building. The data were collected from 1,269 office workers during February 2004 by using the questionnaires. The response rate was 85.11 percent. The results showed that most office workers were female, middle aged, 40-49 years old with bachelor degree of education. Most were secretaries or clerks with less than or equal to 40 working hours per week. The overall prevalence of SBS was 20.58 percent (95%CI = 20.55-20.61). The symptoms according to organ system were ocular 9.96 (9.94-9.98) percent; nasal 6.67 (6.65-6.69) percent; neurological 6.48 (6.47-6.49) percent; throat 4.51 (4.50-4.52) percent; dermal 3.20 (3.19-3.21) percent, and; lower respiratory tract 1.22 (1.21-1.23) percent. Factors statistical significantly associated with SBS (p<0.05) were female, younger age, having underlying diseases, working with carbonless copy paper, using computer more than 4 hours per day, having high psychosocial scores, sitting near pile(s) of documents / photocopiers / or printers, presence of water system leakage, and chair or desk discomfort. The chance of having SBS among office workers who had each of these factors was two or more times higher than those workers who had not. This research suggests that SBS is common problem in service provided sectors. Most symptoms are mucous membrane irritation. This problem is not only related to work environment, but also to work characteristics and personal factors.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject โรคแพ้ตึก en_US
dc.subject อาคารสำนักงาน -- ไทย -- กรุงเทพฯ en_US
dc.subject มลพิษทางอากาศในอาคาร en_US
dc.subject Sick building syndrome en_US
dc.subject Office buildings -- Thailand -- Bangkok en_US
dc.subject Indoor air pollution en_US
dc.title ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ที่ทำงานในอาคารสำนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร en_US
dc.title.alternative Prevalence and associated factors of sick building syndrome among office workers in Bangkok en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline อาชีวเวชศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Wiroj.J@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record