Abstract:
ศึกษานโยบายการรับเข้าผู้อพยพของสหพันธรัฐเยอรมนี โดยศึกษาเปรียบเทียบนโยบายของรัฐบาลนายเฮลมุท โคลล์ และรัฐบาลนายเกฮาร์ด ชโรเดอร์ ระหว่างปี ค.ศ. 1993-2001 ภายใต้กรอบทฤษฏี "การเมืองเกี่ยวพัน (Linkage Politics)" ที่เสนอโดย James N. Rousenau โดยมีสมมุติฐานว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในประเทศ เป็นตัวกำหนดรูปแบบนโยบายการรับเข้าผู้อพยพของทั้งสองรัฐบาล การศึกษาพบว่า นอกจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการรับเข้าผู้อพยพของทั้งสองรัฐบาลแล้ว พิจารณาถึงปัจจัยทางการเมืองและปัจจัยทางด้านสังคมก็มีส่วนสำคัญด้วย เนื่องจากสหพันธรัฐเยอรมนีเป็นประเทศสมาชิกหลักของสหภาพยุโรป ที่ให้ความสำคัญต่อการประสานนโยบายการรับเข้าผู้อพยพ ที่เป็นไปในรูปแบบเดียวกันระหว่างประเทศสมาชิก ดังนั้นเยอรมนีจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนนโยบายไปในแนวทางเดียวกับสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกันเยอรมนียังต้องคำนึงถึง ผลกระทบจากการมีชาวต่างชาติจำนวนมากในสังคม ที่จะนำมาซึ่งความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายขวาและกลุ่มนาซีใหม่