Abstract:
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเบื้องต้นถึงผลกระทบของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในชุมชนประเภทที่อยู่อาศัย ที่มีต่ออาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ ซึ่งเป็นอาชญากรรมที่ไม่มีเงื่อนงำและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด จึงมีส่วนสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด โดยถือว่าปัจจัยทางกายภาพเป็นปัจจัยแฝงของการเกิดคดีอาชญากรรม เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิ่งจูงใจหรือโอกาสให้คนร้ายตัดสินใจกระทำผิด ซึ่งอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์เกิดขึ้นอย่างหนาแน่นในที่อยู่อาศัยทุกประเภท ซึ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร เป็นพื้นที่หนึ่งที่ประสบกับปัญหาอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์สูงพื้นที่ หนึ่งของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้เป็นการศึกษาสาเหตุจากข้อบกพร่องของสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่พักอาศัยหรือบริเวณที่พักอาศัยของชุมชน ซึ่งเป็นการศึกษาถึงสิ่งที่สถาปนิกและนักวางแผนไต้กำหนดลักษณะทางกายภาพ ที่ส่งผลเอื้ออำนวยต่อการเกิดอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์อย่างไรบ้าง ในการศึกษานี้ ได้นำแนวความคิดทางด้านนิเวศน์วิทยาอาชญากรรม อาชญาวิทยา แนวความคิดว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรม อิทธิพลของสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่มีต่อพฤติกรรมมนุษย์และงานวิจัยต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องมาผสมผสานกันเป็นแนวทางในการศึกษา โดยใช้สถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ซึ่งกำหนดให้มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในการศึกษาไต้เลือกตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์จากชุมชนต่าง ๆ ในพื้นที่ผิดชอบสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร จำนวน 310 ราย โดยใช้แบบสอบถามและแบบสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลของการศึกษาพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างประสบคดีประเภทไม่อุกฉกรรจ์เป็นส่วนใหญ่ โดยมีกลุ่มคดีลักทรัพย์เกิดขึ้นหนาแน่นที่สุด รองลงมาเป็นคดีโจรกรรมรถยนต์/รถจักรยานยนต์และคดีวิ่งราวทรัพย์ ตามลำดับ และมีคดีประเภทอุฉกรรจ์เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ได้แก่ คดีชิงทรัพย์และคดีปล้นทรัพย์ ตามลำดับ โดยลักษณะของคดีที่เกิดขึ้น พบว่า มีความเกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพและเกิดจากการฉกฉวยโอกาสมากที่สุด ส่วนใหญ่เกิดเหตุในช่วงเวลาระหว่าง 01.00-05.00 น และส่วนใหญ่ประสบอาชญากรรมในช่วงปี พ.ศ. 2541-2545 ในส่วนประเภทของอาคารที่เกิดเหตุมากที่สุด คือทาวน์เฮ้าส์ และมักเกิดเหตุในย่านที่อยู่อาศัยเบาบาง 2. คดีอุกฉกรรจ์ ได้แก่ คดีชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ จะมีสัดส่วนสูงขึ้นตามจำนวนทางเข้าออกในชุมชน และความกว้างของถนนในชุมชน สำหรับประเภทคดีไม่อุกฉกรรจ์ ได้แก่ คดีลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ และคดี โจรกรรมรถยนต์/รถจักรยานยนต์ จะมีสัดส่วนสูงขึ้นตามขนาดชุมชนและจำนวนครัวเรือนต่อทางเดินร่วมหรือขนาดของกลุ่ม