Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตกุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาทางกายภาพของโบราณสถาน อันเนื่องมาจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมือง ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขป้องกันปัญหาผลกระทบของการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองเชียงใหม่ตามวิธีการทางผังเมือง ในการศึกษาสำรวจสภาพและปัญหาเน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินและการคมนาคมกับโบราณสถาน โดยใช้วิธีการแผนภาพเชิงซ้อน (overlay mapping) และการจำแนกการใช้ประโยชน์ (use classification) ในการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อแจกแจงลักษณะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโบราณสถานตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของเมือง จากการศึกษา พบว่า โบราณสถานซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเมืองประวัติศาสตร์กระจายอยู่ในย่านการใช้ที่ดินของเมืองแบ่งออกเป็น 5 บริเวณคือ บริเวณเมืองเก่า บริเวณสุเทพ-ห้วยแก้ว บริเวณช้างเผือก-ช่วงสิงห์บริเวณริมฝังแม่น้ำปิง และบริเวณเวียงกุมกาม จากการวิเคราะห์และประเมินผลกระทบของปัญหาแบ่งออกเป็น17 ปัญหาย่อย และแบ่งกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในย่านต่าง ๆ ของเมืองออกเป็น 15 ย่าน พบว่า พื้นที่มีปัญหาด้านกายภาพมากคือ กลุ่มโบราณสถานในย่านพาณิชยกรรมรองลงมาได้แก่ กลุ่มโบราณสถานในย่านสถานที่ราชการและย่านที่พักอาศัย ตามลำดับ นอกจากปัจจัยทางด้านที่ตั้ง ขนาด และประเภทของการใช้ประโยชน์ที่ดินแล้ว ยังพบว่ารูปแบบโครงข่ายถนนและปริมาณการสัญจรในเมืองมีผลทำให้โบราณสถานในแต่ละย่านมีผลกระทบที่รุนแรงแตกต่างกันไป โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทางกายภาพผากได้แก่ ย่านห้วยแก้ว ย่านท่าแพ ย่านคูเมืองชั้นใน ย่านสุเทพ ย่านช้างเผือก และย่านแม่น้ำปิง กลุ่มที่สองมีปัญหาทางกายภาพปานกลางได้แก่ ย่านมุลเมือง ย่านวัวลาย ย่านคูเมืองชั้นนอก ย่านเชิงดอยสุเทพ และย่านสันติธรรม-เจ็ดยอด ส่วนกลุ่มสุดท้ายมีปัญหาทางกายภาพน้อยได้แก่ ย่านกลางเวียง ย่านประตูสวนปรุง ย่านหายยา และย่านเวียงกุมกาม ผลการศึกษาสรุปได้ว่า บริเวณเมืองเก่าเป็นพื้นที่มีคุณค่าทางประวิติศาสตร์และมีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนพื้นที่มีผลกระทบโดดเด่นมากที่สุดคือ ย่านศูนย์การค้าห้วยแก้ว แนวทางการอนุรักษ์โบราณสถานเมืองเชียงใหม่ เสนอให้มีการใช้ผังเมืองรวมในการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อควบคุมการพัฒนาเมืองให้สอดคล้องกับกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในย่านต่าง ๆ ของเมืองอย่างเหมาะสม โดยการกำหนดเป็นย่านการใช้ประโยชน์ที่ดินและนำแผนผังข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำผังเมืองไปสู่การปฏิบัติ และสามารถควบคุมการพัฒนาในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามผังได้โดยสมบูรณ์ จึงได้เสนอทางเลือกในการนำข้อเสนอไปใช้มี 2 ทางเลือก คือ 1) ใช้รูปแบบของผังเมืองและข้อกำหนดเดิม แต่ปรับปรุงรายละเอียดที่ยังขาดให้มีความรัดกุมมากยิ่งขึ้น 2) กำหนดให้พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์บริเวณต่าง ๆ ของเมืองเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อจัดกาง ‘'ผังเฉพาะ” โดยให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนิน การวางและจัดทำผังดังกล่าว