Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกลุ่มให้การศึกษาต่อการลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไชเมอร์ โดยเปรียบเทียบความเครียดของผู้ดูแล ระหว่างก่อน ทดลอง หลังทดลอง และหลังติดตามผล 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักที่ให้การดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ระยะแรกและระยะที่สองที่มารับการรักษาที่สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา ระหว่าง ปี 2545 ถึง 2546 (ช่วงที่เก็บข้อมูล) และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 คน และกลุ่มควบคุมหนึ่งกลุ่มจำนวน 10 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง กันยายน 2546 กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมกลุ่มให้การศึกษา กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำการดูแลผู้ป่วยเป็นรายบุคคลพร้อมคู่มือเกี่ยวกับโรคและการดูแล เมื่อสิ้นสุดการทดลอง เหลือกลุ่มทดลองที่เข้าเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบคัดกรองโรคทางจิตเวช แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดปัญหาพฤติกรรมและความจำ แบบสอบถามวัดความเครียด โปรแกรมกิจกรรมกลุ่ม และคู่มือเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์และการดูแลผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows สถิติที่ใช้ คำความถี่ ร้อยละ Fisher' Exact test Chi-Square คำเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t- test และ One-Way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า เมื่อเปรียบเทียบความเครียดจากการประเมินด้วยแบบวัดและการประเมินความรู้สึกของผู้ดูแลระหว่างก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังติดตามผล กลุ่มทดลองมีความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 โดยพบว่าความเครียดหลังทดลองน้อยกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05ในขณะที่กลุ่มควบคุมความเครียดทั้งจากการประเมินด้วยแบบวัดและการประเมินความรู้สึกของผู้ดูแล ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ จากผลการวิจัยสรุปว่ากลุ่มให้การศึกษาสามารถลดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์ได้