Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่บริเวณสี่แยกบางนา กรุงเทพมหานคร และบริเวณโดยรอบ เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสภาพทางกายภาพของพื้นที่แบบ Node and Place Development กล่าวคือ เป็นจุดเปลี่ยนภารสัญจรประเภทต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นสถานที่ที่มีคุณกาพและความหมายต่อชีวิตเมืองในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อแสดงประเด็นปัญหา และศักยภาพของพื้นที่ ใช้ฐานข้อมูลปฐมภูมิจากการสำรวจประโยชน์การใช้ที่ดิน และอาคารในด้านต่าง ๆ ร่วมกับฐานข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษางานวิจัย แนวความคิดทฤษฎี ตลอดจนข้อมูลสนับสนุนในการออกแบบพื้นที่ เพื่อกำหนดแนวความคิดและองค์ประกอบในการออกแบบเชิงกายภาพที่ เหมาะสมของพื้นที่บริเวณจุดเปลี่ยนการสัญจรสี่แยกบางนา จากการศึกษาพบว่าพื้นที่บริเวณจุดเปลี่ยนการสัญจรสี่แยกบางนา เป็นบริเวณจุดตัดของโครงข่ายการสัญจรที่สำคัญของเมืองผ่านยวดยานพาหนะหลากหลายประเภท มีคนเข้าใช้พื้นที่เพื่อเปลี่ยนการสัญจรและเดินทางต่อไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของเมืองทั้งการสัญจรทางเท้ารถส่วนบุคคลรถโดยสารสาธารณะประเภทต่างๆ และมีกิจกรรมการใช้พื้นที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากทั้งในระดับชุมชนเละระดับฟ้อง แต่ในสภาพปัจจุบันพบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปัญหาสำคัญคือ การขาดความเชื่อมโยง (Linkage) ของโครงข่ายการสัญจรและกิจกรรมต่าง ๆ ดังกล่าวในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการเชื่อมโยงของทางดินเท้า ระบบการสัญจรโดยยวดยานพาหนะต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นที่จอดรถ ร้านค้า ลานสาธารณะต่าง ๆ ทำให้พื้นที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นจุดเปลี่ยนการสัญจร (Transport Node) ที่แท้จริง ผลที่ตามมาก็คือพื้นที่ขาดความเชื่อมโยงของกิจกรรมรอบด้านอย่างมีเอกภาพ มีพื้นที่ที่ใช้สอยไม่เต็มประโยขน์ในขณะที่การจราจรและกิจกรรมการเปลยนภารสัญจรกระจุกตัวพนาแน่นอยู่ในบางบริเวณขาดพื้นที่สีเขียว และลานสาธารณ ประโยชน์ทำให้ไม่เกิดบรรยากาศรองฟ้องที่ดีและน่าอยู่ ไม่มีความเป็นสถานที่ (Place) การวิเคราะห์ปัญหา และศักยภาพของพื้นที่ นำไปสู่แนวทางการออกแบบเชิงกายภาพ ด้วยการเสนอเครือข่ายเชื่อมโยงทางเดินเท้าที่เหมาะสมน่าสนใจและมีประสิทธิภาพคงไว้ซึ่งภูมิทัศน์ที่สวยงามควบคู่ไปกับการออกแบบแก้ไขระบบเส้นทางเดินรถและจอดรถโดยสารสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาการจราจร ตลอดจนเสนอรูปนบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน และอาคารต่างๆ โดยรอบพื้นที่เปลี่ยนการสัญจรสี่แยกบางนาที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายที่ต่อเนื่องของทั้งกิจกรรมการสัญจรและกิจกรรมการใช้พื้นที่ การศึกษานี้ ยังได้เสนอแนวทางการนำไปปฏิบัติ ที่แสดงลำดับในพัฒนาและข้อเสนอแนะในประดินเต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบต่อไปในอนาคตซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดจนการนำไปประยุกต์ใช้กับพื้นที่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับพื้นที่ศึกษาต่อไป