Abstract:
ปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณการส่งออกข้าวสารในแต่ละปีมีค่าสูงถึงประมาณร้อยละ 40 ของปริมาณผลผลิตข้าวสารทั้งประเทศ ราคาส่งออกจึงส่งผลกระทบต่อราคาภายในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดข้าวระดับส่งออก (2) ศึกษาถึงพฤติกรรมการกำหนดราคาและวิเคราะห์การส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตร (3) ศึกษาถึงผลการดำเนินงานของบริษัทส่งออกข้าวในประเทศไทยด้วยการวัดอำนาจเหนือตลาด โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเป็นข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างปี พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2546 จากผลการศึกษาพบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2527-2531 กลุ่มบริษัทผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุด 4 อันดับแรกครองส่วนแบ่งการตลาดเฉลี่ยร้อยละ 37.6 ของปริมาณข้าวส่งออกทั้งหมดและเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นเฉลี่ยร้อยละ 45.8 ของปริมาณข้าวส่งออกทั้งหมดในช่วงปี พ.ศ. 2541-2546 โครงสร้างตลาดข้าวส่งออกจึงมีการกระจุกเพิ่มมากขึ้น โดยมีอุปสรรคทางกฎหมายในการเข้าสู่ตลาดตํ่า แต่มีอุปสรรคทางเศรษฐกิจในการเข้าสู่ตลาดสูง ในส่วนของพฤติกรรมตลาดพบว่า พ่อค้าคนกลาง หรือ หยง นับ เป็นกลไกสำคัญ ในการส่งผ่านราคาจากราคาข้าวส่งออกไปยังราคาข้าวขายส่งภายในประเทศ โดยมีการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรกันทางบวก (ความเร็ว) ส่งผลทำให้ผู้ส่งออกข้าว สามารถทำกำไรจากการส่งผ่านราคาที่ไม่สมมาตรได้ในระยะสัน สำหรับการศึกษาผลการดำเนินงานด้วยการวัดอำนาจเหนือตลาดชี้ให้เห็นว่ากลุ่มธุรกิจผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศมิได้มีอำนาจเหนือตลาดสูงอย่างที่เคยเชื่อกัน เนื่องจากกลุ่มธุรกิจผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศสามารถกำหนดราคาขายให้สูง กว่าต้นทุนหน่วยสุดท้ายได้ประมาณร้อยละ 15.89 เท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับในกรณีตลาดผูกขาดสมบูรณ์