Abstract:
ความสำคัญและที่มา : การส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล นับเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของบุคลากร เพื่อการพัฒนาไปสู่การเชื่อมโยงของชุมชนและการเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพต่อไป วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพทางด้านร่างกายและจิตใจและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ในปี พ.ศ. 2546 รูปแบบการวิจัย : การศึกษาเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ตัวอย่าง : บุคลากรทั้งหมดในโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ที่มีผลตรวจสุขภาพ จำนวน 820 คน ในปี 2546 การรวบรวมข้อมูล : รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2547 มีผู้ตอบกลับและมีผลการตรวจสุขภาพ จำนวน 820 คน (ร้อยละ 88.1 ) จากบุคลากรทั้งหมด 931 คน สถิติที่ใช้ : Chi-square test ({u1D4B3}2) ผลการศึกษา : มีบุคลากรจำนวน 820 คน เป็นเพศชาย : หญิง (1 : 4.5 ) มีอายุเฉลี่ย 33.8 ปี ส่วนมากอยู่ในช่วงอายุ 30-34 ปี ( ร้อยละ 26.6 ) นับถือศาสนาพุทธ 360 คน (ร้อยละ 44.2 ) รองลงมาคือศาสนาคริสต์ 192 คน (ร้อยละ23.5 ) ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง 471 คน (ร้อยละ 58.1) ทัศนคติอยู่ระดับดี 606 คน (ร้อยละ 74.7) ส่วนมากมีพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับดี 635 คน (ร้อยละ 79.9) และมีความเครียดในระดับปานกลางและระดับสูง ร้อยละ 39.4 และ 38.0 ตามลำดับ ผลการตรวจร่างกายพบว่าส่วนมากดัชนีมวลกายมีผลผิดปกติ (น้อยกว่า 20 และสูงกว่า 25) ร้อยละ 46.7 ความดันโลหิตผิดปกติ (Systolic/Diastolic มากกว่า 140/90 mm Hg) ร้อยละ12.3 ผลตรวจเอ็กซเรย์ปอด ผิดปกติร้อยละ 1 ส่วนในบุคลากรที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป พบว่า ระดับน้ำตาลในเลือด มีผลผิดปกติ (สูงกว่า 110) ร้อยละ7.3 คอเลสเตอรอลผิดปกติ ( สูงกว่า 250 mg/dl ) ร้อยละ 48.8 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความรู้ เจตคติ พฤติกรรมสุขภาพ และปัจจัยด้านการทำงานกับภาวะสุขภาพพบว่า อายุ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ปริมาณงาน และการนอนหลับ มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) สรุป : ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาล นับเป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพัฒนาสุขภาพของบุคลากรโรงพยาบาลเซนต์หลุยล์