Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาเรื่อง ฟื้นความหลังของ เสฐียรโกเศศ ในด้านลักษณะเด่นของการใช้ภาษาและศึกษาเนื้อหาที่เป็นอัตชีวประวัติและความเรียงอธิบายความรู้ต่างๆ ผลการวิจัยสรุปว่า การใช้ภาษาในเรื่อง ฟื้นความหลัง มีลักษณะเด่น ๒ ประการคือ การใช้ภาษาเพื่อความชัดเจนและการใช้ภาษาเพื่อความเพลิดเพลิน การใช้ภาษาเพื่อความชัดเจนประกอบด้วย ๓ ลักษณะคือ คำช้อน สำนวน และประโยคยาว เสฐียรโกเศศจะใช้คำช้อน ที่ช่วยให้เห็นการกระทำ รูปร่างลักษณะ สีสัน ลักษณะนิสัย อารมณ์ความรู้สึก ใช้สำนวนที่เน้นยํ้า ขยายความ สรุปความอย่างชัดเจน และใช้ประโยคยาวที่ช่วยสำดับความในประโยคให้เป็นระบบระเบียบเป็นเหตุเป็นผล เน้นยํ้าความคิดกริยาอาการ และเหตุการณ์ต่างๆ การใช้ภาษาเพื่อความ เพลิดเพลิน ประกอบด้วย ๓ ลักษณะ คือ การใช้ภาษาที่แสดงอารมณ์ขัน การใช้ภาษาที่มีเสียงสัมผัสคล้องจองและจังหวะ และการใช้ภาษาที่สร้างความสนใจใคร่รู้ นอกจากนี้ผู้อ่านจะได้รับความรู้จากเนื้อหาที่เป็นอัตชีวประวัติ และความรู้ด้านต่างๆ ทั้งสภาพบ้านเมือง สภาพความเป็นอยู่ ที่มาของชื่อสถานที่ ความรู้เกี่ยวกับบุคคล ความเชื่อ ประเพณี ภาษาและวรรณกรรม ทั้งสะท้อนความเป็นนักปราชญ์ของเสฐียรโกเศศในด้านประวัติศาสตร์สังคมมานุษยวิทยา วัฒนธรรม นิรุกติศาสตร์ และวรรณกรรมอีกด้วย