Abstract:
วัตถุประสงค์สำคัญของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการฟังดนตรีญี่ปุ่นของวัยรุ่นไทยในฐานะที่เป็นกิจกรรมการบริโภคอย่างหนึ่ง รวมทั้งศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความนิยมดนตรีญี่ปุ่นของวัยรุ่นกับกระบวนการอัตลักษณ์ของวัยรุ่นผู้นิยมดนตรีญี่ปุ่น โดยใช้วิธีการวิสัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า สื่อ และเพื่อนของวัยรุ่นมีอิทธิพลทำให้วัยรุ่นได้รู้จักดนตรีญี่ปุ่นเทคนิคการสร้างความสุนทรียะทางดนตรีของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน ทำให้วัยรุ่นเกิดจินตนาการและเพลิดเพลินกับความรื่นรมย์ที่ได้รับ วัยรุ่นแสวงหาความบันเทิงนี้ได้ทั้งทางวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือนิตยสาร รวมทั้งอินเตอร์เน็ต พวกเขามีพฤติกรรมความนิยมดนตรีญี่ป่นใน 2 กระบวนการ คือ กระบวนการลร้างและแสวงหาความโดดเด่น กับกระบวนการเลียนแบบ วัยรุ่นแสดงออกถึงอัตลักษณ์ที่โดดเด่นไปจากเพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่นิยมดนตรีญี่ป่น ขณะเดียวกันอัตลักษณ์เหล่านั้นเกิดจากการเลียนแบบนักร้องดนตรีญี่ปุ่นที่พวกเขาฟัง แม้ดนตรีญี่ปุ่นจะเป็นเพียงวัฒนธรรมย่อยหนึ่งในสังคม แต่วัฒนธรรมของวัยรุ่นในสมัยปัจจุบันมักแสวงหาความแปลกใหม่ที่แตกต่างจาก วัฒนธรรมกระแสหลัก วัยรุ่นจึงฟังดนตรีญี่ปุ่นที่เป็นวัฒนธรรมย่อยหนึ่งของสังคมในฐานะวัฒนธรรมกระแสหลักของกลุ่ม พวกเขาได้แสดงออกถึงความเป็นตัวตน โดยการมาชุมนุมและทำกิจกรรมร่วมกันในทุก ๆ วันหยุด และทุกปีวัยรุ่นจะร่วมกันลัดงานคอนเสิร์ตรวมคนนิยมดนตรีญี่ปุ่นแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มผ่านเรือนร่าง ด้วยการแต่งกายเลียนแบบนักร้องดนตรีญี่ปุ่นไปร่วมงาน แสดงท่าทางเหมือนนักร้องที่ตนแต่งกายเลียนแบบ และสร้างภาษาเฉพาะที่เข้าใจกันในกลุ่ม พฤติกรรมต่าง ๆ ที่แสดงออกเหล่านี้บ่งบอก ''ความเป็นตัวตน” ของวัยรุ่น และความเป็นตัวตนของวัยรุ่นก็เลื่อนไหลไปได้ตามบริบทที่เปลี่ยนไป