Abstract:
เอกลักษณ์และความหมายเรื่องถิ่น เกิดขึ้นจากการสร้างความหมายจากความสัมพันธ์อันลึกขึ้งของการอยู่อาศัยของผู้คนและโลกแวดล้อมรอบตัวเขา ย่านใดสังคมใดที่ได้รับการเรียกขานว่าเป็น “ถิ่น’ นั้นย่อม สะท้อนให้เห็นถึงภาพชีวิตที่ปรากฏลงในย่านทั้งในทางกายภาพ กิจกรรม นำสู่ความหมายของ “ถิ่นแห่งชีวิต” ที่สั่งสมเรื่องราวประวัติศาสตร์ย่าน ประวัติศาสตร์ชุมชนสานให้ถิ่นแข็งแรงและปรากฏภาพของเอกลักษณ์ของถิ่นขึ้น แต่ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสังคมสมัยใหม่ ได้ลบเลือนภาพถิ่นแห่งชีวิตจากย่าน และชุมชนลงทีละน้อย หากย่านใดยังคงรักษาเอกลักษณ์และความหมายจากการอยู่อาศัยของผู้คนในย่านให้ดำรงอยู่ได้นั้น ย่อมแสดงถึงความแข็งแรงที่เกิดขึ้นจากโยงใยของชีวิตที่สานกันอยู่อย่างแนบแน่น ตั้งแต่ระดับของโยงใยของครอบครัว สู่โยงใยแห่งชีวิตของย่านและชุมชน ย่านชุมชนคลองโอ่งอ่าง-สะพานหิน เป็นย่านย่อยย่านหนึ่งในย่านเยาวราช-สำเพ็ง ที่ยังคงสะท้อนภาพการอยู่อาศัยอย่างแนบแน่นของคนไทยเชื้อสายจีนจากรุ่นบรรพบุรุษจนถึงรุ่นลูกหลานในยุคปัจจุบัน และ ยังคงรักษาความหมายของการเป็น “ถิ่นแห่งชีวิต” ทั้งจากการอยู่อาศัยในวาระของชีวิตประจำรันและในเทศกาลแห่งชีวิต สร้างความสัมพันธ์จองผู้คนให้ปรากฏภาพเป็นโยงใยของครอบครัว และการสานกันของ ตรอกทางเดินหลายตรอก นำสู่โยงใยแห่งทางที่ฉายให้เห็นภาพวิถีการอยู่อาศัยของผู้คนในย่าน และยังรวมถึงศาลเจ้าขนาดเล็กหลายแห่งที่เป็นศูนย์รวมศรัทธาและมงคลแห่งชีวิตของผู้คนในย่าน สะท้อนกายภาพของย่านที่สานกันอย่างแนบแน่นใกล้ชิด ความปรากฏจองภาพ “ถิ่นแห่งชีวิต” จึงเกิดขึ้นที่นี่ การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเอกลักษณ์และความหมายเรื่องถิ่นในย่านชุมชนคลองโอ่งอ่าง-สะพานหิน ที่เป็นตัวอย่างของถิ่นแห่งชีวิต โดยอาศัยการศึกษาภาคสนามจากการสังเกตการณ์ สัมภาษณ์และวิเคราะห์ ข้อมูลตามหลักมโนทัศน์ แนวคิด ปรัชญาปรากฏการณ์ศาสตร์และทฤษฎีจิตวิทยาสถาปีตยกรรม เพื่อทราบถึงเอกลักษณ์และความหมายจองย่านจากชีวิตครอบครัวที่ถือเป็น “ศูนย์กลางแห่งชีวิต” โดยเลือกครอบครัวกรณีศึกษา เป็นครอบครัวต้นเรื่องและครอบครัวสานเรื่องเป็นโยงใยของครอบครัว สานเรื่องราวชีวิตอยู่ในตรอกยาฉุน ตรอกซีฝกหนอ ตรอกเหล่ายาย ซึ่งอยู่ในย่านที่ทำการศึกษา นำไปสู่การวิเคราะห์เป็นความหมายของ “ทางแห่งชีวิต’ และสุดท้ายวิเคราะห์เป็น “ถิ่นแห่งชีวิต" ที่มีความหมายปรากฏขึ้นในการการศึกษา ได้แก่ "ถิ่นโยงใยครอบครัว-โยงใยชีวิต” “ถิ่นเพื่อนบ้านผูกพัน” “ถิ่นชุมชนปฏิสันถาร" “ถิ่นเทศกาลงานฉลอง" และ “ถิ่นแห่งงมงคลวัฒนธรรม'’ โดยความหมายจองถิ่นแห่งชีวิตที่ปรากฏขึ้นนี้ ท้ายที่สุด การวิจัยนี้ได้สรุปเป็นความหมายที่จะสร้างให้เกิด “ชีวิตในถิ่นใหม่" ด้วยความหมายห้าประการ อันได้แก่ “บ้านแห่งชีวิต" “หมู่บ้านเพื่อนบ้านผูกพัน” “ชุมชนปฏิสันถาร” “ย่านรองรับเทศกาลงานฉลอง” และ “ย่านสังคมวัฒนธรรม" ที่ปรากฏในกายภาพที่สะท้อนวัฒนธรรมการใช้สอสอยพื้นที่ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นมิติทางกายภาพที่จะเอื้อต่อความสมปรารถนาที่เป็นมิติทางจิตภาพของผู้อยู่อาศัย ที่ดำรงอาศัยอยู่ในย่านอย่างมีรากฐานอันมั่นคงในชีวิต เพื่อนำไปสู่การสร้างความหมายของ “ถิ่นแห่งชีวิต” ในย่านใหม่ชุมชนใหม่ในวันข้างหน้าต่อไป