dc.contributor.advisor |
พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย |
|
dc.contributor.author |
นวลนภา วิบูลรังสรรค์, 2522- |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2020-05-24T17:25:45Z |
|
dc.date.available |
2020-05-24T17:25:45Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.issn |
9741757336 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65962 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
en_US |
dc.description.abstract |
อัตราส่วนทางการเงินเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินอย่างหนึ่งที่มีใช้กันโดยทั่วไป อย่างไรก็ตามอัตราส่วนทางการเงินมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ รวมทั้งมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการวิเคราะห์ เช่น ขนาดของกิจการ ลักษณะของอุตสาหกรรม และสภาพเศรษฐกิจ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาถึงผลกระทบของสภาพเศรษฐกิจโดยเลือกวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ในการศึกษาถึงผลกระทบที่มีต่ออัตราส่วนทางการเงิน การศึกษานี้ประกอบด้วยอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดความเสี่ยงและอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดความสามารถในการทำกำไรรวมทั้งอัตราส่วนที่ใช้กระแสเงินลดในการคำนวณโดยจะวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราส่วนทางการเงินก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และศึกษาว่าขนาดของกิจการและลักษณะของอุตสาหกรรมที่ต่างกันส่งผลให้อัตราส่วนทางการเงินก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันหรือไม่ ทั่งนี้เพื่อยืนยันทางสถิติถึงความแตกต่างของอัตราส่วนทางการเงินก่อนและหลังวิกฤตเศรษฐกิจ และใช้เป็นแนวทางที่จะช่วยให้ผู้ใช้งบการเงินทราบถึงผลกระทบของวิกฤต เศรษฐกิจที่มีต่ออัตราส่วนทางการเงิน และเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบอัตราส่วนได้ดียิ่งขึ้น จากการทดสอบ พบว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีอิทธิผลต่ออัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดความเสี่ยง โดยทำให้อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนต่อสินทรัพย์รวมมีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อหนี้สินรวม สำหรับอัตราส่วนทางการเงินที่ใช้ในการวัดความสามารถในการทำกำไรพบว่ามีค่าเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญเฉพาะอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนกำไรละสมต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนทั้งสองแสดงถึงความสามารถในการทำกำไรที่ลดลงจากช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ไม่พบความแตกต่างในอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวมและอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อกำไรสุทธิ ทั้งนี้แม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น แต่จากการทดสอบพบว่าในแต่ละอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน แต่สำหรับกิจการที่มีขนาดต่างกันจะมีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้ถ้าเป็นอัตราส่วนกระแสเงินสดจากการดำเนินงานจะไม่พบความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนทั้งปัจจัยด้านลักษณะอุตสาหกรรมและขนาดของกิจการ สำหรับอัตราส่วน ที่ใช้วัดความสามารถในการทำกำไรนั้น จะมีเพียงอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวน้อยกว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 มีผลกระทบต่ออัตราส่วนทางการเงินโดยทำให้อัตราส่วนแตกต่างกันเฉพาะอัตราส่วนที่คำนวณจากรายการที่ได้มีการปรับปรุงถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับอัตราส่วนที่คำนวณจากรายการที่ไม่ได้มีการปรับปรุงถึงผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น กระแสเงินสดจากการดำเนินงานจะช่วยทำให้การเปรียบเทียบอัตราส่วนทำได้ดียิ่งขึ้น |
|
dc.description.abstractalternative |
Financial ratios are generally the tool for financial statement analysis. However, there are limitations of financial ratios including factors to be considered in the analysis such as size, industry’s characteristic, and economic. This thesis examines the impact of economic crisis in 1997 on financial ratios. This study uses risk ratios and profitability ratios to test the difference of financial ratios between before and after the economic crisis in 1997 and to examine the impact of size and industry characteristic on financial ratios. This study aims to statistically confirm the differences of financial ratios between before and after the economic crisis in 1997 and provide guidance to the users on the impact of economic crisis on financial ratios in order to improve the comparison of financial ratios. The results indicate that economic crisis has the impact on risk ratios. More specifically, debt ratio and current ratio before and after the economic crisis in 1997 are significantly different and these ratios present an increase in risk. However, there is no significant difference in cash flows from operation to total debt ratio. For profitability ratios, there are significantly differences in return on assets and retained earnings to total assets, and these ratios indicate the decrease in profitability. Nonetheless, the difference between before and after 1997 crisis have not found for the operating income to total assets and the cash flows from operation to net income ratios. Although the economic crisis results in an increase in risk, the industry characteristic does not found to affect the increase in risk. On the contrary, size is found to have an impact on the degree of an increasing risk. The cash flows from operation to total debt is the only ratio that does not have an impact from both industry characteristic and size. For profitability ratios, the return on assets is the only ratio that the change in ratio of the Hotel and Traval industry is significantly different from the change in such ratios of the Property Development industry. In sum, the results show that the economic crisis in 1997 has the impact on financial ratios that calculated from items adjusted for economic crisis especially the impact from foreign exchange. Ratios that calculated from items that are not adjusted for economic crisis such as cash flows from operation would help in making better ratios comparison. |
|
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
เศรษฐกิจตกต่ำ -- ค.ศ.1997 -- ไทย |
en_US |
dc.subject |
วิกฤตการณ์การเงิน |
en_US |
dc.subject |
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน |
en_US |
dc.subject |
Depressions -- 1997 -- Thailand |
en_US |
dc.subject |
Financial crises |
en_US |
dc.subject |
Ratio analysis |
en_US |
dc.title |
ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ต่ออัตราส่วนทางการเงิน |
en_US |
dc.title.alternative |
The impact of economic crisis in 1997 on financial ratios |
en_US |
dc.type |
Thesis |
en_US |
dc.degree.name |
บัญชีมหาบัณฑิต |
en_US |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
en_US |
dc.degree.discipline |
การบัญชี |
en_US |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.email.advisor |
Pimpana.P@Chula.ac.th |
|