Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเครียดจากการทำงานและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในพนักงานสำนักงานของบริษัท โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพนักงานสำนักงาน จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเครียดและสุขภาพจิต ( General Health Questionnaire - 12 : GHQ - 12 ) แบบสอบถามเพื่อประเมินองค์ประกอบความเครียดจากการทำงานของ Mclean สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน , t-test 1 One-way ANOVA 1 Chi-square test 1 Pearson Correlation และ Stepwise multiple regression ผลการวิจัยพบว่า พนักงานสำนักงานของบริษัทมีความเครียดคิดเป็นร้อยละ 36.5 ปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าการมีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่แตกต่างกัน การมีโรคประจำตัวและไม่มีโรคประจำตัว การสูบบุหรี่และไม่สูบบุหรี่จะทำให้มีความเครียดต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุและเงินเดือนมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีอายุน้อยจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีอายุมากจะมีความเครียดน้อย และพนักงานที่มิเงินเดือนน้อยจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีเงินเดือนมากจะมีความเครียดตํ่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงานพบว่า การปรับตัว, สภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยกระตุ้นความเครียด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีปัญหาการปรับตัวสูงจะมิความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาการปรับตัวตํ่าจะมีความเครียดตํ่า พนักงานที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานสูงจะมี ความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาจากสภาพแวดล้อมตํ่าจะมีความเครียดตํ่า และพนักงานที่มีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดสูงจะมีความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดตํ่าจะมีความเครียดตํ่า อายุ, การปรับตัวและสภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นตัวพยากรณ์ความเครียดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดจากการทำงานพบว่าศาสนาต่างกันทำให้มีปัญหาจากการปรับตัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการปรับตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีอายุน้อยจะมีปัญหาในการปรับตัวสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มีอายุมากจะมีปัญหาจากการปรับตัวตํ่า จำนวนบุตรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยกระตุ้นความเครียดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพนักงานที่มีจำนวนบุตรมากจะมีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดสูงหรือในทางกลับกันพนักงานที่มิจำนวน บุตรน้อยจะมีปัญหาจากปัจจัยกระตุ้นความเครียดตํ่า