Abstract:
การวิจัยครั้งมีเป็นการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ กระบวนการตัดสินใจและพฤติกรรมของผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานในปัจจุบันและเพื่อเป็นประโยชน์ด้านการตลาดและการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทบ้านประหยัดพลังงานในอนาคต โดยมีสมมติฐาน คือ บ้านประหยัดพลังงานเป็นความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมดังนั้นผู้ที่ให้ความสนใจในระยะเริ่มแรกในประเทศไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่น่าจะเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงและรายได้สูง จากผลการวิจัยพบว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีขึ้นไปและมีรายได้ของครัวเรือนมากกว่า 30,000 บาท/เดือนซึ่งตรงกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ งานวิจัยนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิโดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งแนบแปลนบ้านประหยัดพลังงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลัง งานแห่งชาติ ส่วนข้อมูลปฐมภูมิเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบ ถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งได้ส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่สั่งซื้อแบบแปลนบ้านประหยัดพลังงานจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติในระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน พ.ศ.2543 งานวิจัยครั้งนี้มีกลุ่มประชากรรวมทั้งสิ้น จำนวน 4,507 ราย ซึ่งตามหลักทางสถิติที่ขอบเขตความเชื่อมั่น 95% และมีความคลาดเคลื่อน 5% นั้นต้องการแนบสอบถามจำนวน 303 ชุด ซึ่งได้ดำเนินการส่งแบบสอบถามไป 606 ชุด และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แบบสอบถามที่ตอบกลับมาและสามารถนำมาใช้ได้จำนวน 375 ชุด คิดเป็น 124 % ของจำนวนที่ต้องการและได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยมีสาระสำคัญคือกลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 31- 50 ปี สถานภาพสมรสแต่งงานแล้ว จำนวนสมาชิกในครองครัวอยู่ที่ 4 - 5 คน
ซึ่งกลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนมากกำลังหาซื้อหรือจะสร้างที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่มีอาชีพรับราชการ พักอาศัยอยู่ในต่างจังหวัด ประเภทที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยวและลักษณะการครอบครองเป็นเข้าของบ้านเอง กลุ่มผู้สนใจมีความต้องการซื้อแบบบ้าน แบบที่ 1 มากที่สุด เหตุผลในการซื้อแบบบ้านประหยัดพลังงานคือ เพื่อต้องการศึกษาแบบบ้านประหยัดพลังงานเป็นสำคัญ ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานมีความต้องการในเรื่องคำปรึกษารวมทั้งข้อแนะนำในการสร้างบ้านประหยัดพลังงานโดยเฉพาะจากสถาปนิก/วิศวกรที่มีความรู้ในการก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงาน กลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานให้ความสำคัญในเรื่องรูปแบบและคำนึงถึงราคาค่าก่อสร้างเป็นสำคัญ กลุ่มผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานมีพฤติกรรมการใช้ อุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศชนิดประหยัดพลังงานเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นตู้เย็นจะใช้แบบประหยัดพลังงานน้อยกว่าแบบธรรมดาเล็กน้อย พฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารส่วนใหญ่รู้จักบ้านประหยัดพลังงานโครงการนี้ทางหนังสือพิมพ์ ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับบ้านประหยัดพลังงานนั้นส่วนใหญ่มีความรู้ในเรื่องต่าง ๆ พอสมควรโดยมีสัดส่วนผู้รู้มากกว่าผู้ไม่รู้ ในเรื่องทัศนคตินั้นส่วนใหญ่มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านประหยัดพลังงานยกเว้นในเรื่องราคา สำหรับกระบวนการตัดสินใจ ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานจำนวน 22.1 % ตัดสินใจจะสร้างตามแบบที่ซื้อมาโดยมีเหตุผลที่สำคัญคือความสบายแบนธรรมชาติ และอีก 65.9 % ยังไม่ตัดสินใจนั้นเนื่องมาจากเหตุผลยังไม่พร้อมทางการเงินและยังต้องการศึกษาข้อมูลมากกว่ามี ผู้สนใจบ้านประหยัดพลังงานส่วนใหญ่ปรึกษาคู่สมรสในการตัดสินใจ รองลงมาคือ ปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกร จากการวิจัยพบว่าตัวแปรเรื่องการศึกษาและเรื่องทัศนคติด้านราคา ทัศนคติด้านรูปแบบในแง่ความเหมาะสมกับประเทศไทยทัศนคติด้านรูปแบบในแง่ความสวยงาม และทัศนคติด้านความคุ้มค่านั้นมีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจ แบบบ้านประหยัดพลังงานที่ผู้ตัดสินใจสร้างเลือกมากที่สุดคือ แบบที่ 3 โดยให้เหตุผลหลักในการเลือกคือ มีขนาดเหมาะสม สถานที่ที่จะสร้างนั้นส่วนใหญ่จะสร้างในต่างจังหวัดในย่านชานเมือง กลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญคือ การปรับราคาค่าก่อสร้างให้ถูกลงหรือทำให้เห็นว่าบ้านประหยัดพลังงานมีราคาค่าก่อสร้างเท่า ๆ กับบ้านธรรมคา การพัฒนารูปแบบบ้านให้หลากหลายมากขึ้น เน้นความสบายแบบธรรมชาติ สร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีให้กับผู้บริโภค อำนวยความสะดวกในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ