Abstract:
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงความเชื่อเรื่องนาคของชุมชนอีสานลุ่มแม่น้ำโขง อันได้แก่ จังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม ในช่วงยุคอุรังคธาตุ (พุทธศตวรรษที่ 21-23) จนถึงปัจจุบัน ตามหลักฐานทางโบราณคดีและเอกสารมีร่องรอยว่านาคเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์ทางความเชื่อดั้งเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งลัทธิความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีการเคารพเช่นสรวงบูชาธรรมชาติ และสัตว์บางชนิด โดยเชื่อว่าจะเป็นผู้บันดาลให้เกิดความมั่งคั่งแก่ชุมชนแถบลุ่มน้ำโขง ในช่วงยุคอุรังคธาตุคติเรื่องนาคได้ถูกนำมาใช้ในด้าน การเมืองการปกครองโดยสัมพันธ์ กับการขยายตัวของอาณาจักรล้านช้าง ในบริเวณลุ่มน้ำโขง รวมทั้งเป็นสัญลักษณ์สำคัญทางพุทธศาสนา ปัจจุบันชุมชนแถบลุ่มน้ำโขงยังคงมีความเชื่อ พิธีกรรม นิทาน เรื่องเล่าในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับคติเรื่องนาค เมื่อมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นผลให้นาคถูกใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวโดยนาคได้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรม เมื่อคติเรื่องนาค เปลี่ยนไป ชุมชน ในบริเวณแถบลุ่มน้ำโขงจึงพยายามที่จะแสดงว่ามีความเชื่อ เมื่อคติเรื่องนาคเชื่อที่มีมานานและเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับวิถีชีวิต ของผู้คนในบริเวณแถบลุ่มน้ำโขง