DSpace Repository

ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ การกล้าแสดงออกและปฏิกิริยาทางอารมณ์ ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด

Show simple item record

dc.contributor.advisor จรุงกุล บูรพวงศ์
dc.contributor.author นันทกา จุลยนันท์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2020-05-25T07:32:31Z
dc.date.available 2020-05-25T07:32:31Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741735111
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66014
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en_US
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาททางเพศ การกล้าแสดงออก และปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 215 คน ผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างตอบมาตรวัดบทบาททางเพศ มาตรวัดการกล้าแสดงออกและมาตรวัดความรู้สึกทางบวกและทางลบ ผลการวิจัย พบว่า 1. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นชาย และบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นหญิง มีการกล้าแสดงออกสูงกว่าบุคคลมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี มีการกล้าแสดงออกสูงกว่าบุคคลมีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบลักษณะความเป็นชาย มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ทางด้านบวกต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. บุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบแอนโดรจีนี มีปฏิกิริยาทางอารมณ์ทางด้านบวกต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าบุคคลที่มีบทบาททางเพศแบบไม่ชัดเจน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. การกล้าแสดงออกของบุคคลมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study sex role, assertiveness and emotional reaction to potential stress. Three instruments: A sex role inventory, an assertiveness measure and an emotional reaction measure were administered to 215 Chulalongkorn University students. The results are as follows: 1. Participants classified as masculine and feminine are significantly more assertive (p < .05) than those who are undifferentiated. 2. Participants classified as androgyny are significantly more assertive (p < .001) than those who are undifferentiated. 3. Participants classified as masculine have significantly more positive emotional reaction to potential stress (p < .01) than those who are undifferentiated. 4. Participants classified as androgyny have significantly more positive emotional reaction to potential stress (p < .001) than those who are undifferentiated. 5. There is a significant positive correlation (p < .01) between assertiveness and emotional reactional to potential stress.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject บทบาทตามเพศ en_US
dc.subject การแสดงออก (จิตวิทยา) en_US
dc.subject อารมณ์ en_US
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา) en_US
dc.subject Sex role en_US
dc.subject Emotions en_US
dc.subject Assertiveness ‪(Psychology)‬ en_US
dc.subject Stress ‪(Psychology)‬ en_US
dc.title ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาททางเพศ การกล้าแสดงออกและปฏิกิริยาทางอารมณ์ ต่อภาวะที่อาจก่อให้เกิดความเครียด en_US
dc.title.alternative Relationships among sex role, assertiveness, and emotional reaction to potential stress en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor jarungkul.b@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record